หลักการป้องกันตัวไทฟูโดโดยโรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ

หลักการป้องกันตัวไทฟูโดโดยโรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ
ไทฟูโด (Taifudo Academy) โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ

หลักการป้องกันตัวเป็นกลไกหรือวิธีการที่ใช้เพื่อป้องกันตนเองจากความเสี่ยงหรืออันตรายที่อาจเกิดขึ้น โดยอาจใช้วิธีการ เช่น การระวังตัว การระมัดระวังสิ่งแวดล้อม การรู้จักคำนึงถึงความเสี่ยง การสร้างความตั้งใจและความมั่นคงในตนเอง การฝึกฝนทักษะทางร่างกายและจิตใจ และการใช้เทคนิคหรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อป้องกันตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากที่สุดในสถานการณ์ที่ต่างๆ

หลักการป้องกันตัวไทฟูโด

การป้องกันตัว

การป้องกันตัว คือ ยังไม่เกิดเหตุ

ไม่เท่ากับ

การต่อสู้

การต่อสู้ คือ เกิดเหตุแล้ว
ดังนั้น จึงต้องเรียนรู้ทฤษฎีความเสี่ยง

เหตุการณ์จะเกิดขึ้น

1. เหยื่อ

2. คนร้าย

3. โอกาส

ทฤษฎีความเสี่ยง (ภัยที่เกิดจาก)

  1. ธรรมชาติ “ประเมินภัยความเสี่ยงจากธรรมชาติ”
  2. น้ำมือมนุษย์ “ประเมินภัยความเสี่ยงจากน้ำมือมนุษย์”

ประเมินภัยความเสี่ยงจากน้ำมือมนุษย์

  1. เอาไม่ถึงชีวิต : หลักการ คือ สิ่งใดที่สละได้ สละ!
  2. เอาถึงชีวิต : หลักการ คือ สู้ให้ถึงที่สุด นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมถึงต้องเรียนศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวเพื่อเตรียมพร้อมร่างกายและให้รู้ว่าจะสู้อย่างไร (ต้องสู้ รอด?/ไม่รอด?)

ธรรมชาติ “ประเมินภัยความเสี่ยงจากธรรมชาติ”

น้ำมือมนุษย์ “ประเมินภัยความเสี่ยงจากน้ำมือมนุษย์”

หลักการป้องกันตัวไทฟูโด (Taifudo Academy) โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ

หลักการป้องกันตัว / หลักการใช้การป้องกันตัว

  • เขา 1 เรา 1
  • เขาถึง เราถึง
  • เขาเคลื่อน เราเคลื่อน
  • การเดินวน
  • หลังชิดฝา (ป้องกันตัวอันตรายจากด้านหลัง)
  • เตรียมสิ่งกีดขวาง
  • ทำเป้าให้เล็กลง
  • เข้าหาฝูงคน (กลุ่มคน)
  • เข้าหากล้องวงจรปิด
  • การหาอาวุธในตัว
  • อาวุธรอบตัว
  • นำพาอาวุธ
  • หาทางหนีใกล้ตัว
  • มุ่งไปยังเป้าหมายที่ต้องการ เช่น ตา, คอ, อวัยวะ เป็นต้น
  • เน้นการเคลื่องตัวเข้าด้านหลัง

การป้องกัน คือการป้องกันร่างกายไม่ให้เกิดอันตรายก่อนจะเกิดเหตุ และต้องไม่มีการปะทะ ไม่มีการต่อสู้ใดๆ เลย จึงจะเป็นการป้องกัน ที่มีประสิทธิภาพ และเป็นวิธีที่ดีที่สุด ฉะนั้นอย่าพาตัวเองไปหาภัยอันตราย ที่เปลี่ยว ที่อโคจร ที่ที่มีภัยคุกคาม และสถานที่ที่กำลังเกิดเหตุร้าย ให้หลีกเลี่ยง เพื่อเป็นการป้องกันเหตุร้ายที่อาจเกิดกับตัวเราและควรสมมุติบ้างว่าหากเกิดเหตุการณ์อันตรายหรือเกิดเหตุฉุกเฉินเราจะเตรียมพร้อมหาทางรับมือกับเหตุการณ์ร้ายที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างไรบ้าง จงอย่าประมาทเพราะคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว เพราะเท่ากับว่าท่านรอ ให้เกิดเหตุโดยที่ไม่ได้เตรียมการป้องกันตัว ไว้ล่วงหน้า นั่นเอง

หากเราเข้าใจจุดนี้และรู้จักหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ อันไม่สงบทุกกรณีได้ ก็ถือว่าจบหลักสูตรการป้องกันตัวแล้ว แต่หากเลี่ยงเหตุการณ์ไม่ได้และต้องมีการต่อสู้ ก่อนต่อสู้ต้องตั้งสติก่อนนะครับ และต้องรู้จักหลักการแก้ไขสถานการณ์

การประเมินสถานการณ์ ประเมินเหตุการณ์ที่จะเกิดว่าเหตุที่จะเกิดมาจากเหตุใด?

  • เกิดจากภัยธรรมชาติ (น้ำท่วม, พายุ, แผ่นดินไหว ฯลฯ)
  • เกิดจากน้ำมือมนุษย์

ทีนี้เรามาดูกรณีเกิดจากน้ำมือมนุษย์ กันนะครับ หากเราประเมินแล้ว ว่าผู้ประสงค์ร้ายต้องการอะไร เช่นกรณี จี้ชิงทรัพย์

  1. แบบไม่หวังผลถึงชีวิต
    • ข้อแนะนำ : ถ้าไม่หวังผลถึงชีวิต สิ่งใดที่สละได้ให้สละ (ขอรอดชีวิตก่อน ทรัพย์สินหาใหม่ได้) หากขัดขืนต่อสู้ อาจพลาดพลั้ง เกิดเสียชีวิตขึ้นมา จะไม่มีโอกาสแก้ตัวอีกนะครับ
  2. แบบหวังผลถึงชีวิต
    • ข้อแนะนำ : ถ้าหวังถึงชีวิตด้วย เราต้องสู้ทุกทางที่ทำให้ตัวเรารอด (หรืออาจ ไม่รอด)

ตรงจุดนี้แหละจะเป็นคำตอบของใครหลายๆ คนว่า “จะเรียนท่าต่อสู้ป้องกันตัวเพื่ออะไร?” เพื่อให้เราได้รู้ว่า ถ้าจะสู้ จะสู้อย่างไร? เมื่อต้องพบกับเหตุการณ์คับขันขึ้นกับตนเอง

การประเมิน 4 ข้อ ในการป้องกันตัว เพื่อเอาตัวรอด มีดังนี้

การประเมินพื้นที่ มีภูมิประเทศอย่างไร มีทัศนียภาพของพื้นที่เป็นอย่างไร ผู้คนโดยรอบเป็นอย่างไร มีเส้นทางสัญจรแบบใดบ้าง หากเป็นในอาคารสถานที่ ควรรู้ทางเข้า-ออก ทางออกฉุกเฉิน อยู่ด้านใด การประเมินช่วงเวลา เวลาที่เราจะต้องไปอยู่ในพื้นที่ ดึกมากไป มืด หรือ เปลี่ยว มากหรือเปล่า การประเมินสถานการณ์ในพื้นที่ ไปเป็นอย่างไร หากเราต้องไป มีความปลอดภัยแค่ไหน จะได้เตรียมตัวไป หรือต้องชวนเพื่อนๆ ไปด้วย

การประเมินการแก้ไข หากต้องเกิดเหตุการณ์เราต้องปฏิบัติอย่างไร?

ลองคิดสมมุติสถานการณ์จำลองไว้ก่อน แล้วลองคิดแก้ไขสถานการณ์ดู แต่อย่าถึงกับเครียดนะครับ เอาแค่ลองคิดเล่นๆ หลายๆ สถานการณ์ ว่าถ้าเป็นเราจะทำอย่างไร อย่างน้อยหากท่านเข้าใจว่า การป้องกันคือการหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่ประเมินแล้วว่าเสี่ยง งดเผชิญเหตุ ต้องไม่มีการปะทะ อย่าเอาตัวเองเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์ที่เป็นอันตราย ให้เลี่ยงซะท่านก็ปลอดภัยแล้วแต่หากเลี่ยงไม่ได้ ควรมีความรู้ทักษะการป้องกันตัวหรือการใช้อาวุธซะหน่อย ให้คิดว่าไม่มีที่ไหนปลอดภัยหรอก เพื่อที่จะได้เตรียมความพร้อมทางทักษะ ร่างกายและจิตใจ คิดว่าเมื่อเจอเหตุการณ์แล้วจะต้องทำอะไร จะได้เตรียมแก้ไขได้ทันท่วงทีครับ

ผู้ที่เคยฝึกฝนกันมาแล้ว เมื่อได้เจอเหตุร้ายที่นำไปสู่เหตุการณ์อันตรายจนอาจจะถึงแก่ชีวิต ไม่ว่าทักษะการต่อสู้แบบใด ทักษะการใช้อาวุธทั้งหลายหรือการยิงปืนที่พร่ำฝึกซ้อมกันมา หากได้ใช้ในเหตุการณ์ร้ายที่เกิดขึ้นกับตัวเรา และช่วยให้เรารอดชีวิตแค่ครั้งเดียว ก็ถือได้ว่า สิ่งที่เราลงทุนไปกับการฝึกฝน 1,000 วัน 10,000 วัน คุ้มแล้วครับ

นักป้องกันตัวนั้นอาจจะไม่มีทักษะการต่อสู้ที่ฉกาจฉกรรจ์ แต่จำเป็นต้องเป็นผู้ที่รู้จักการประเมินสถานการณ์ความเสี่ยงให้ได้ ช่างสังเกต เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ผิดปกติ และสามารถรู้จักหาวิถีทางที่จะพาตัวเองออกจากเหตุการณ์ร้ายต่างๆ ให้ได้อย่างปลอดภัย
นักป้องกันตัวไม่จำเป็นต้องต้องเก่งการต่อสู้ และขอให้เป็นคนช่างสังเกต (สิ่งผิดปรกติ) สีหน้า อาการ บรรยากาศ และการเอาตัวรอด โดยประเมินสถานการณ์ความเสี่ยงให้ได้และหาวิถีทางพาตัวเองออกจากเหตุการณ์ร้ายต่างๆ ให้ได้อย่างปลอดภัย

  • ช่างสังเกต หาทางหนีทีไล่ (จงคิดดีๆ)
  • การสร้างเครื่องกีดขวาง
  • การหาอาวุธที่อยู่รอบตัว (จะใช้มันอย่างไร?)
  • การหาที่มั่นในที่ปลอดภัย
  • ประเมินสถานการณ์ เข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
ไทฟูโด (Taifudo Academy) โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ หลักการป้องกันตัว ไทฟูโด

เราควรสังเกตอะไร?

1. บุคคล

นักป้องกันตัวต้องช่างสังเกตบุคคลรอบตัว เพื่อเตรียมแก้สถานการณ์ให้ ปลอดภัยสูงสุด ยกตัวอย่างเช่น หากคุณรู้สึกว่ามีคนท่าทางมีพิรุธเดินตามมา ระหว่างการเดินทางตามปกติ บางช่วงของการเดินนั้นอาจเปลี่ยว หรือมีคนบางตา ถ้ารู้สึกผิดสังเกตควรเร่งฝีเท้าให้ผ่านจุดเสี่ยงให้เร็วที่สุด จากนั้นลองหยุดตรงที่มีคนอยู่ ดูแล้วน่าจะปลอดภัย อาจแวะเข้าร้านอาหาร หรือ ร้านขายของชำ ฯลฯ สังเกตว่าผู้ที่เราคิดว่าเดินตามเรามามีท่าทีอย่างไร หากเขาเดินผ่านไปก็สบายใจได้ แต่ถ้ายังไม่แน่ใจ เพราะเขาหยุดเดินและทำท่าทางพิรุธเหมือนรอให้เราออกมาจากร้านที่แวะอยู่ กรณีนี้หากเราจำเป็นต้องเดินทางต่อ รอนานมากไม่ได้ เราควรรอให้มีคนเดินไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อเดินเคียงๆกันไป หากเริ่มแน่ใจว่ามีคนตามเพื่อประสงค์ร้าย อาจต้องเปลี่ยนทิศทางการเดินทางไปยังที่ที่ปลอดภัยกว่า กรณีสามารถหารถรับจ้างเช่นรถ TAXI ควรนั่งรถ TAXI เพื่อไปจากพื้นที่ที่เราโดนติดตามนั้นๆ ก่อนเลย (หวังว่างานนี้คงไม่หนีเสือปะจระเข้นะครับ)

2. วัตถุรอบตัว

นักป้องกันตัว ต้องหัดสังเกตว่าวัตถุรอบตัว อะไรบ้างที่นำมาเป็นอาวุธได้ นักป้องกันตัว ต้องหัดสังเกตวัตถุโดยรอบ เราจะได้รู้ว่ามีอะไรที่พอจะหยิบมาใช้เป็นอาวุธได้บ้าง ในกรณีที่เกิดเหตุร้าย วิชานี้เรียกว่า ถ้วย ถัง กะละมัง หม้อหากมีเหตุโดนทำร้าย เราสามารถคว้าอะไรได้ก็โยนไป ปาเข้าไปวัตถุใดบ้างที่สามารถเอามากั้นทางเพื่อวิ่งหนี หรือหยุดชะลอการโจมตีจากคู่ต่อสู้อย่างน้อยก็อาจช่วยให้ระยะและจังหวะการโจมตีของคู่ต่อสู้เสียไปการทำลายจังหวะด้วยการใช้วัตถุรอบๆ ตัว ยังช่วยเพิ่มเวลาคิดเพื่อตอบโต้หรือเผ่นหนีวัตถุรอบๆ ตัวที่สามารถนำมาสร้างเครื่องกีดขวาง เช่น เก้าอี้โต๊ะอาหาร ฯลฯและวัตถุใดบ้างที่สามารถใช้แทนอาวุธ เช่น ช้อนส้อม ปากกา ร่ม แก้วน้ำขวดแก้ว ฯลฯ ให้หัดสังเกตดูสิ่งรอบตัวบ่อยๆ เวลาอยู่ในสถานที่ต่างๆ ลองมองว่าหากเกิดเหตุร้าย อะไรที่เราจะนำมาเป็นอาวุธได้อีกบ้าง?

สุดท้ายต้องหัดสังเกต รู้จักหาที่มั่น ที่จะทำให้เรารอด นักป้องกันตัวจำต้องประเมินสถานการณ์ ความเสี่ยงให้ได้และหาวิถีทางพาตัวเองออกจากเหตุการณ์ร้ายต่างๆให้ได้อย่างปลอดภัย เราจะเป็นนักป้องกันตัวได้นั้นไม่ยากเลย โดยให้เริ่มฝึกการสังเกตและรู้จักการประเมินสถานการณ์คือ เมื่อเกิดเหตุ และประเมินสถานการณ์ว่าผิดปกติ อาจมีเหตุร้ายแล้ว หาบุคคลที่อาจช่วยเราให้ปลอดภัยหรือหยิบจับสิ่งของรอบตัวที่นำมาใช้เป็นอาวุธได้อาจสร้างเครื่องกีดขวางด้วยวัตถุเฉพาะหน้า ที่สามารถชะลอการโจมตีหรืออาจเปิดจังหวะเพื่อหลบหนีและควรรีบไปยังที่มั่นหรือสถานที่ที่มีผู้คน

ทุกวันนี้ภัยสังคมมีมาทุกรูปแบบ อย่ามัวรอพระเอกขี่ม้าขาวฝึกฝนตัวเราเองก่อนขอฝากไว้ครับ “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” ดีที่สุดครับ

บทความและข่าวสารอื่นๆ

ไทฟูโด (Taifudo Academy) โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ
ไอคิโด (Aikido) คืออะไร?
"ไอกิโด" เขียนคำ "คิ" ในแบบตัวอักษรดั้งเดิม
ไทฟูโด (Taifudo Academy) โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ
องค์บาก 2-3 ออกแบบคิวบู้โดยอาจารย์ชีวิน อัจฉริยะฉาย
องค์บาก 1 องค์บาก (อังกฤษ: Ong Bak) เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2546 ผลงานการกำกับโดย ปรัชญา ป...
ไทฟูโด (Taifudo Academy) โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ
มวยไชยา (Muay Chaiya)
มวยไชยา เป็นศิลปะมวยไทยประจำถิ่นอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีชื่อเสียงมากสมัยรัชกาลที่ 5 – ...
ไทฟูโด (Taifudo Academy) โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ
มวยไทย (Muay thai)
มวยไทย เป็นศิลปะการต่อสู้ของประเทศไทย มีความโดดเด่นด้านเทคนิคการกอดคอต่อสู้ ซึ่งเป็นการใช้ทั้งกายและ...
ไทฟูโด (Taifudo Academy) โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ
คาราเต้ (Karate) ศิลปะผสมผสานเสริมร่างกายผนึกจิตใจ
คาราเต้ (ญี่ปุ่น: 空手; โรมาจิ: karate; ทับศัพท์: คะระเตะ) หรือ คาราเต้โด (ญี่ปุ่น: 空手道; โรมาจิ: karat...
ไทฟูโด (Taifudo Academy) โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ
ศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสาน (MMA) คืออะไร? 
ศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสาน หรือ Mixed Martial Arts (MMA) เป็นกีฬาการต่อสู้ที่มีความเคลื่อนไหวและน่าสนใ...
Before you continue to use Taifudo Academy
We use required cookies for site navigation, purchasing, improving your browsing experience to:
  • Provide you with services described on the Sites, general administrative and performance functions, and support services;
  • Operate the Sites and verify your identity when you sign in to any of our Sites;
  • Inform you about company news and give updates on our services;
  • Carry out technical analysis to determine how to improve the Sites and services we provide;
  • Track outages and protect against spam and fraud.
If you choose to “Accept all,” we will also use cookies and data to:
  • Improve site performance;
  • Deliver and measure the effectiveness of ads;
  • Show personalized content and ads, depending on your settings.
You can always change your browser settings and other ways to reject cookies. To learn more, please visit www.allaboutcookies.org.