Taifudo Academy

พระยาคางเหล็ก

พระยาคางเหล็ก
Taifudo Academy - โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ หรือ ไทฟูโด รับรองหลักสูตรโดยกระทรวงศึกษาธิการ

พระยาคางเหล็กหรือพระยาพัทลุง (ขุนคางเหล็ก) เดิมชื่อ “ขุน” เป็นบุตรชายของพระยาราชบังสันตะตา เจ้าเมืองพัทลุงสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้รับการแต่งตั้งเป็น“พระยาแก้วเการพพิไชยฯ” เจ้าเมืองพัทลุงใน พ.ศ. ๒๓๑๕ สมัยกรุงธนบุรี นับเป็นครั้งแรกที่เชื้อสายสกุล “ณ พัทลุง” ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ปกครองเมือง เมื่อเมืองตั้งอยู่ที่ตำบลลำปำ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง และสืบต่อมาจนย้ายเมืองมาอยู่ในที่ปัจจุบัน สมัยรัชกาลที่ ๖

ผลงานพระยาคางเหล็ก

พระยาคางเหล็ก เป็นนักปกครองที่มีความสามารถสูง ดังจะเห็นได้จากการปรับเปลี่ยนท่าทีตามนโยบายของส่วนกลางมาตลอด เช่น ในสมัยกรุงธนบุรี ได้เปลี่ยนวิธีอิสลามมานับถือพุทธศาสนา ต่างเล่ากันว่าเมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีรับสั่งถามขุนนางที่เข้าเฝ้าอยู่ว่า “ใครจะตามเสด็จขึ้นสวรรค์ได้บ้าง” ผู้เข้าเฝ้าต่างคนต่างนิ่งอยู่ แต่พระยาคางเหล็กกราบทูลว่า “เป็นอันเหลือวิสัยผู้หาบุญมิได้ จะตามเสด็จขึ้นสวรรค์ในเวลาที่มีชีวิตอยู่ ข้าพระพุทธเจ้าจะได้ตามเสด็จเมื่อหาชีวิตไม่แล้ว” พระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดฯว่าพูดถูก นี่เป็นคำพูดที่กล้าทูล จึงได้รับนามว่า “คางเหล็ก” แม้จะมีการเปลี่ยนแผ่นดินในปี พ.ศ. ๒๓๒๕ พระยาคางเหล็ก ก็ยังได้รับพระกรุณา โปรดเกล้าฯ จากรัชกาลที่ ๑ ให้คงรับราชการเป็นเจ้าเมืองพัทลุงต่อไป และได้ส่งธิดาไปถวายตัวเป็นเจ้าจอมด้วย คือเจ้าจอมมารดากลิ่น ในพระองค์เจ้าสุทัศน์(ต้นสกุลสุทัศน์ ณ อยุธยา) นอกเหนือจากการเป็นนักปกครองที่มีความสามารถสูงแล้ว พระยาคางเหล็กยังเป็นนักรบที่กล้าหาญ เช่น เมื่อคราว “สงครามเก้าทัพ” ในพ.ศ.๒๓๒๘ได้ร่วมมือกับพระมหาช่วยพระภิกษุผู้มีความรู้ทางไสยศาสตร์แห่งวัดป่าลิไลย์ปลุกระดมมหาชนชาวพัทลุงต่อสู้พม่าเพื่อปกป้องแผ่นดินไว้ด้วยชีวิต ต่อจากนั้นได้เป็นแม่กองทัพเรือคุมทัพเมืองพัทลุงและเมืองจะนะยกไปตีเมืองปัตตานีร่วมกับทัพหลวงจนตีเมืองปัตตานีได้ในที่สุด

รวมเวลาที่พระยาคางเหล็กว่าราชการเมืองพัทลุงอยู่ ๑๗ ปี โดยถึงแก่อนิจกรรมเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๒ แม้ระยะเวลาจะผ่านไปเป็นเวลานานแล้วก็ตาม แต่คุณงามความดี ความเด็ดเดี่ยวกล้าหาญ ความซื่อสัตย์ของท่าน ยังอยู่ในความทรงจำของชาวพัทลุงสืบไป

อนุสาวรีย์ผู้สําเร็จราชการ พระยาพัทลุง-ขุนคางเหล็ก

“พระยาแก้วโกรพพิชัย เขตวิเศษราชกิจพิพิธภักดีอภัยพิริยพาหะ” (ขุน) หรือ พระยาพัทลุงคางเหล็ก ผู้สำเร็จราชการเมืองพัทลุง เป็นบุตรของ พระยาราชบังสัน (ตะตา) อดีตผู้สำเร็จราชการเมืองพัทลุง

เมื่อปี พ.ศ.2315 พระเจ้ากรุงธนบุรี (พระเจ้าตากสินมหาราช) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายขุน บุตรของพระยาราชบังสัน (ตะตา) ให้เป็นพระยาแก้วโกรพพิชัยฯ ผู้สำเร็จราชการเมืองพัทลุง เปลี่ยนการนับถือศาสนาอิสลามมานับถือศาสนาพุทธตามแบบอย่างของพระเจ้าแผ่นดิน คือ พระเจ้าตากสินมหาราช ได้รับราชทินนามว่า พระยาพัทลุง (ขุนคางเหล็ก) เพราะเป็นคนกล้าพูด กล้าทำ เป็นนักรบมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ต่อสู้ศึกพม่ามาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาแตกพ่ายให้กับพม่า ทำศึกสงครามร่วมกับพระเจ้าตากสินมหาราชหลายต่อหลายครั้ง

พระยาพัทลุงขุนคางเหล็ก เป็นนักปกครองที่มีความสามารถสูง ดังจะเห็นได้จากการปรับเปลี่ยนท่าทีตามนโยบายของส่วนกลางมาตลอด เช่น ในสมัยกรุงธนบุรี ต่างเล่ากัน ว่า เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีสั่งถามขุนนางที่เข้าเฝ้าอยู่ว่า “ใครจะตามเสด็จขึ้นสวรรค์ได้บ้าง”

ผู้เข้าเฝ้าต่างนิ่ง แต่พระยาพัทลุงกราบทูลว่า “เป็นอันเหลือวิสัย ผู้หาบุญมิได้ จะตามเสด็จขึ้นสวรรค์ในเวลาที่มีชีวิตอยู่ ข้าพระพุทธเจ้าจะได้ตามเสด็จเมื่อหาชีวิตไม่แล้ว”

พระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดว่าพูดถูกนี่ เป็นคำพูดที่กล้ากราบทูล จึงได้รับนามว่า “คางเหล็ก”

แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงแผ่นดินในปี พ.ศ.2325 พระยาพัทลุง ขุนคางเหล็ก ก็ยังได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จากรัชกาลที่ 1 ให้คงรับราชการเป็นเจ้าเมืองพัทลุงต่อไปและส่งธิดาไปถวายตัวเป็นเจ้าจอมด้วย คือ เจ้าจอมมารดากลิ่นในพระองค์เจ้าสุทัศน์ (ต้นสกุล สุทัศน์ ณ อยุธยา)

นอกเหนือจากการเป็นนักปกครองที่มีความสามารถสูงแล้ว พระยาพัทลุงขุนคางเหล็กยังเป็นนักรบที่กล้าหาญ เช่น เมื่อคราวสงคราม เก้าทัพ ในปี พ.ศ.2328 ได้ร่วมมือกับพระมหาช่วย พระภิกษุผู้มีความรู้ทางด้านวิทยาคมแห่งวัดป่าลิไลย์ ปลุกระดมชาวพัทลุงต่อสู้พม่า เพื่อปกป้องแผ่นดินไว้ด้วยชีวิต ต่อจากนั้น ได้เป็นแม่กองทัพเรือคุมทัพเมืองพัทลุง และเมืองจะนะ ยกไปตีเมืองปัตตานีร่วมกับ ทัพหลวง จนตีเมืองปัตตานีได้ในที่สุด

รวมเวลาที่พระยาพัทลุงขุนคางเหล็กว่าราชการในเมืองพัทลุงอยู่ 17 ปี โดยถึงแก่อนิจกรรมเมื่อปี พ.ศ.2332

แม้เวลาจะผ่านไปเป็นเวลานานแล้วก็ตาม แต่คุณงามความดีของท่านยังอยู่ในความ ทรงจำของชาวพัทลุงสืบไป

เพื่อเป็นการระลึกถึงท่านพระยาพัทลุงขุนคางเหล็ก คณะลูกหลานสายตระกูล ณ พัทลุง และประชาชนชาวพัทลุง ท่านหญิงประภาพันธุ์ กรโกสิยกาจ หรือ หม่อมเจ้าประภาพันธุ์ ภาณุพันธุ์ เป็นประธานในพิธียกรูปเหมือนพระยาพัทลุงขุนคางเหล็ก ขึ้นประดิษฐานยังแท่นของอนุสาวรีย์ ที่วัดวัง ต.ลำปำ อ.เมือง จ.พัทลุง

มี พล.ท.วิวรรธน์ ปฐมภาคย์ แม่ทัพ ภาคที่ 4 ประธานดึงสายสิญจน์ พระเกจิคณาจารย์ชื่อดัง อาทิ พ่อท่านผ่อง วัดแจ้ง, พ่อท่านเอียด วัดโคกแย้ม, พ่อท่านผล วัดทุ่งนารี, พ่อท่านห้อง วัดเขาอ้อ นั่งปรกอธิษฐานจิตปลุกเสกรูปเหมือนและเหรียญพระยาพัทลุงขุนคางเหล็ก เมื่อวันพุธที่ 6 ก.ค. 2559 เวลา 09.30 น. ที่ผ่านมา

สำหรับวัดวัง เป็นวัดโบราณที่มีความสำคัญคู่กับเมืองพัทลุง ตลอดสมัยรัตน โกสินทร์ ด้วยเคยเป็นสถานที่ประกอบพิธี ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาของข้าราชการเมืองพัทลุงในอดีต จนกระทั่งทางราชการยกเลิกพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา และย้ายเมืองพัทลุงจากตำบลลำปำ ไปตั้งที่ตำบลคูหาสวรรค์ คือที่ตั้งเมืองปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ.2469

ปัจจุบันวัดวัง ยังคงเป็นวัดสำคัญที่ใช้ประกอบพิธีกรรมทางพุทธศาสนาในวาระต่างๆ เป็นแหล่งรวมของศิลปกรรมที่งดงาม ที่กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนไว้ตั้งแต่ พ.ศ.2528 และประกาศเขตโบราณสถานอีกด้วย เช่น พระอุโบสถ เป็นสถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ หลังคาทรงไทยมุงด้วยกระเบื้อง เคลือบดินเผาประดับด้วยช่อฟ้าใบระกา ด้านหน้ามีมุขเด็จยื่นออกมา ด้านในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังสีฝุ่นบอกเล่าเรื่องราวพุทธประวัติและเทพชุมนุม บริเวณระเบียงคด โดยรอบมีพระพุทธรูปปูนปั้นปางต่างๆ ประดิษฐานเรียง 108 รูป ไว้ให้สักการะบูชา

หมวดหมู่ : ทั่วไป
Taifudo Academy - โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ หรือ ไทฟูโด รับรองหลักสูตรโดยกระทรวงศึกษาธิการ

ติดต่อบ้าน ต่อเติมครัว

บทความและข่าวสารอื่นๆ

Taifudo Academy - โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ หรือ ไทฟูโด รับรองหลักสูตรโดยกระทรวงศึกษาธิการ
หลานไฉ่เหอ (藍采和; แต้จิ๋ว: น่าไชหัว, ฮกเกี้ยน: หน่าไฉฮัม) เป็นหนึ่งใน โป๊ยเซียน (八仙) หรือแปดเซียนผู้เ...
Taifudo Academy - โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ หรือ ไทฟูโด รับรองหลักสูตรโดยกระทรวงศึกษาธิการ
หานเซียงจื่อ (韓湘子; ฮกเกี้ยน: ฮั้นเจียวจู้) เป็นหนึ่งใน โป๊ยเซียน (八仙) หรือแปดเซียนแห่งลัทธิเต๋า ผู้ม...
Taifudo Academy - โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ หรือ ไทฟูโด รับรองหลักสูตรโดยกระทรวงศึกษาธิการ
หลี่เถียไกว่ (李鐵拐; กวางตุ้ง: เหล่ยทิดกวาย, แต้จิ๋ว: ลี้ทิก๋วย, ฮกเกี้ยน: ลี่ทิกุย) หรือที่รู้จักในชื...
Taifudo Academy - โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ หรือ ไทฟูโด รับรองหลักสูตรโดยกระทรวงศึกษาธิการ
เหอเซียนกู (何仙姑; แต้จิ๋ว: ฮ่อเซียนโกว, ฮกเกี้ยน: เฮอเซียนก๊อ) หรือที่รู้จักในชื่อ “นางฟ้าเหอ&#...
Taifudo Academy - โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ หรือ ไทฟูโด รับรองหลักสูตรโดยกระทรวงศึกษาธิการ
ลฺหวี่ ต้งปิน (呂洞賓; แต้จิ๋ว: ลือท่งปิน, ฮกเกี้ยน: ลีตงปิ่น) เป็นหนึ่งใน โป๊ยเซียน (八仙) หรือแปดเซียนใ...
Taifudo Academy - โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ หรือ ไทฟูโด รับรองหลักสูตรโดยกระทรวงศึกษาธิการ
จงหลีเฉฺวียน (鐘离權; กวางตุ้ง: จงสิดขือ, ฮกเกี้ยน: เจี๋ยงตีควน) เป็นหนึ่งใน โป๊ยเซียน (八仙) หรือแปดเซีย...