ออกแบบคิวบู้องค์บาก 2-3 โดยอาจารย์ชีวิน อัจฉริยะฉาย

ออกแบบคิวบู้องค์บาก 2-3 โดยอาจารย์ชีวิน อัจฉริยะฉาย
Taifudo Academy - โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ หรือ ไทฟูโด รับรองหลักสูตรโดยกระทรวงศึกษาธิการ

การออกแบบคิวบู้อันเป็นเอกลักษณ์ในภาพยนตร์องค์บาก 2 และ 3 ถือเป็นหนึ่งในความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของวงการภาพยนตร์ไทย โดยอาจารย์ชีวิน อัจฉริยะฉาย ผู้อยู่เบื้องหลังการสร้างสรรค์การต่อสู้ที่ทั้งน่าตื่นเต้นและงดงาม ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการออกแบบการต่อสู้ อาจารย์ชีวินได้นำเสนอศิลปะการป้องกันตัวไทยในมุมมองที่ทันสมัยและเต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งไม่เพียงแต่เสริมสร้างความตื่นเต้นให้กับผู้ชม แต่ยังสร้างความเชื่อมโยงทางวัฒนธรรมที่ลึกซึ้ง ภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องจึงไม่เพียงแต่เป็นผลงานบันเทิงที่ประสบความสำเร็จ แต่ยังเป็นการเผยแพร่และอนุรักษ์ศิลปะการต่อสู้ไทยให้กับผู้ชมทั่วโลก

ข้อมูลย่อๆ เกี่ยวกับองค์บาก 1-3

องค์บาก 1

องค์บาก (อังกฤษ: Ong Bak) เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ.2546 ผลงานการกำกับโดย ปรัชญา ปิ่นแก้ว และผลงานการกำกับคิวแอกชั่นโดย พันนา ฤทธิไกร แสดงนำโดย พนม ยีรัมย์, หม่ำ จ๊กมก, ภุมวารี ยอดกมล และมีร่วมด้วย สุเชาว์ พงษ์วิไล, วรรณกิต ศิริพุฒ, เชษฐวุฒิ วัชรคุณ, ชุมพร เทพพิทักษ์, ฉัฏฐพงศ์ พันธนะอังกูร, รุ่งระวี บริจินดากุล, พรพิมล ชูขันทอง ออกฉายในวันที่ 31 มกราคม พ.ศ.2546 ที่ประเทศไทย ภาพยนตร์ทำรายได้ในประเทศไทย 99 ล้านบาท

เรื่องย่อ

องค์บาก พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของหมู่บ้านหนองประดู่ ได้ถูกขโมยตัดเศียรไป บุญทิ้ง (ทัชชกร ยีรัมย์) หนุ่มบ้านหนองประดู่ จึงอาสาออกตามหามาจนถึงกรุงเทพฯ จนได้เจออ้ายหำแหล่หรือ ยอร์จ (หม่ำ จ๊กมก) ลูกชายผู้ใหญ่บ้านที่ทิ้งท้องนาและกลิ่นโคลนสาปควายบ้านนอก มาร่วมทีมกับ หมวยเล็ก (ภุมวารี ยอดกมล) มาเป็น 18 มงกุฎ ต้มตุ๋นชาวบ้านเพื่อเลี้ยงปากท้อง

บุญทิ้งจึงไม่วายเป็นเหยื่อเพราะความซื่อ แต่ด้วยความที่เป็นคนดีและเคยช่วยเหลือชีวิตทั้งสองไว้ ภายหลังเขาจึงได้รับความช่วยเหลือจากทั้งสองในการตามหาองค์บาก พร้อมถูกดึงเข้าสู่การต่อสู้กับเจ้าพ่อมาเฟียอิทธิพลมืดจนเกือบเอาชีวิตไม่รอด บุญทิ้งจึงขอต่อสู้ทั้งชีวิตด้วยศิลปะมวยไทยโบราณตลอดจนการเดินทางตามหาองค์บากเพื่อนำกลับคืนสู่หมู่บ้านให้ทันพิธีอุปสมบทหมู่ซึ่งจะจัดขึ้นในอีก 7 วันให้ได้

องค์บาก 2

องค์บาก 2 (อังกฤษ: Ong Bak 2) เป็นภาพยนตร์ศิลปะการต่อสู้ ที่นำแสดงโดย ทัชชกร ยีรัมย์ เป็นภาพยนตร์ภาคต่อของ องค์บาก ของสหมงคลฟิล์ม ซึ่งกำกับโดยปรัชญา ปิ่นแก้ว ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูงในตลาดต่างประเทศ

ภาพยนตร์กำกับโดย ทัชชกร ยีรัมย์ ร่วมกับผู้กำกับและการสนับสนุนของ พันนา ฤทธิไกร โดยมีการนำศิลปะการต่อสู้ของไทย มาผสมผสานกับศิลปะการแสดงโขน เริ่มถ่ายทำตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ.2550 มีกำหนดออกฉายช่วงต้นปี พ.ศ. 2551 แต่ภาพยนตร์ประสบปัญหาเนื่องจากเปลี่ยนผู้ควบคุมงานซึ่งเดิมคือ แวว ยีรัมย์ และ ธรัช ศุภโชคไพศาล ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งไอยราฟิล์มออก จึงทำให้เกิดปัญหาของการควบคุมงาน และปัญหาความล่าช้าในการถ่ายทำ และใช้งบประมาณบานปลาย จนต้องหยุดการถ่ายทำ และเกิดความขัดแย้งระหว่าง จาพนม ยีรัมย์ กับ ปรัชญา ปิ่นแก้ว และบริษัท สหมงคลฟิล์ม จนต้องมีการเจรจาไกล่เกลี่ยกันหลายครั้ง

ได้เปิดตัวในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และมีกำหนดการฉายอย่างเป็นทางการ ในประเทศไทย วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2551 ทำรายได้รวมในประเทศไทย 101 ล้านบาท วีซีดีและดีวีดีวางจำหน่าย วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2552

เรื่องย่อ

เหตุการณ์เกิดขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 “เทียน” (ทัชชกร ยีรัมย์) บุรุษผู้ถือกำเนิดมาพร้อมกับคำทำนายที่ว่า “จะเติบโตกาย ใต้วังวนแห่งคมดาบและกลิ่นคาวเลือด” เข่าเป็นหอก ศอกเป็นดาบ ทุกส่วนของร่างกายใช้เป็นสรรพาวุธสยบคู่ต่อสู้ให้พ่ายแพ้ไร้ข้อต่อรอง โดยการสอนของ “เชอนัง” (สรพงศ์ ชาตรี) หัวหน้ากองโจรผาปีกครุฑผู้ยิ่งใหญ่ที่ช่วยเทียนไว้จากตลาดการค้าทาส และสอนทุกศาสตร์ให้โดยหวังให้สืบทอดตำแหน่งหัวหน้ากองโจรต่อไป แต่สิ่งเดียวที่เทียนต้องการ คือการเปิดสังเวียนเลือดล้างเลือด ล้างแค้นให้ผู้เป็นพ่อ “ออกญาสีหเดโช” (สันติสุข พรหมศิริ) ที่ต้องตายอย่างทุกข์ทรมาณโดยฝีมือของ “พระยาราชเสนา” (ศรัณยู วงษ์กระจ่าง)

องค์บาก 3

องค์บาก 3 (อังกฤษ: Ong Bak 3) นำแสดงและกำกับภาพยนตร์โดย จา พนม (Tony Jaa) เป็นภาพยนตร์ภาคต่อจากองค์บาก 2 กำกับโดย ทัชชกร ยีรัมย์ ร่วมกับผู้กำกับและกำกับคิวบู๊โดย พันนา ฤทธิไกร ซึ่งออกฉายในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2553 ภาพยนตร์ทำรายได้ 43 ล้านบาท ถูกจัดระดับเรตติ้ง ภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับผู้มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป

เรื่องย่อ

หลังจากพ่ายแพ้แก่ “ภูติสางกา” (ชูพงษ์ ช่างปรุง) ทุกศาสตร์ยุทธที่ถูกบ่มเพาะฝึกฝนมาทั้งชีวิตของ “เทียน” (ทัชชกร ยีรัมย์) ล้วนถูกทำลายย่อยยับจนหมดสิ้น ดั่งคำทำนายเมื่อครั้งถือกำเนิด ยามใดจับต้องศาสตรา ชีวิตจักมืดมน ต้องทนทุกข์แสนสาหัส บัดนี้ร่างที่ไร้ชีวิตของบุรุษนักสู้ได้ถูกลำเลียง ขนย้ายส่งต่อไปยังหมู่บ้านอโรคยา ที่ในอดีต “เทียน” และ “พิม” (พริมรตา เดชอุดม) เคยใช้ชีวิตเติบโตในวัยเด็ก โดยมีเหล่าผู้คนในหมู่บ้าน หรือกระทั่งคนบ้า ที่ไม่เคยมีพิษมีภัยกับใครอย่าง “ไอ้เหม็น” (หม่ำ จ๊กมก) ก็ต่างมาร่วมกันหลอมจิตศรัทธา ช่วยกันหล่อพระพุทธรูปอันศักดิ์สิทธิ์ขึ้น เพื่อส่งจิตระลึกให้ “เทียน” ฟื้นคืนสติกลับมามีชีวิตอีกครั้ง

โดยมี “พระครูบัว” (นิรุตติ์ ศิริจรรยา) ช่วยเปิดทางให้ “เทียน” ได้เริ่มต้นเข้าสู่สมาธิเพื่อฝึกควบคุมร่างกายและจิตให้นิ่ง หลอมหลวมเข้ากับ พลังศรัทธาอันแรงกล้าจากธาตุธรรมชาติทั้ง 4 “ดิน น้ำ ลม ไฟ” ผสมผสาน จนก่อเกิดการค้นพบ “นาฏยุทธ์” ศาสตร์และศิลปะการต่อสู้อันทรงอานุภาพอย่างที่ ไม่เคยปรากฏมาก่อน และทันทีที่ “พระยาราชเสนา” (ศรัณยู วงษ์กระจ่าง) รู้ว่าบัดนี้ “เทียน” ได้รับการชุบชีวิตจากชาวหมู่บ้านคณะโขนด้วยแล้ว การระดมขุมกำลังทั้งหมดส่งไปเพื่อทำลายล้างและเข่นฆ่าผู้คนในหมู่บ้านก็เกิดขึ้นทันที

โดยที่ตัว “พิม” เองถูกทหารจับตัวไปยังพระราชวังเพื่อสำเร็จโทษอาญาคซทัณฑ์ (ใส่ตระก้อให้ช้างเตะ) ต่อหน้าหมู่ทาสและประชาชนทั้งหมด ทำให้ “เทียน” ต้องยอมละตัวเอง ออกจากดวงจิตอันบริสุทธิ์เพื่อเผชิญกับวิบากกรรม ที่เป็นอุปสรรคซึ่งถูกลิขิตไว้อย่างไม่จบสิ้น ทางเดียวที่จะเอาชนะกรรมที่เริ่มก่อตัวขึ้น นั่นคือต้องเผชิญหน้าและเรียนรู้ที่จะควบคุมและเอาชนะจิตใจตนเองให้ได้

ชื่อเรื่องทุนสร้างทำเงิน
องค์บาก 1$1,100,000 (ประมาณ)$20,112,926 (ทั่วโลก)
องค์บาก 2$8,000,000 (ประมาณ)97.44 ล้านบาท (กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่)
$8,936,663 (ทั่วโลก)
องค์บาก 3$5,000,000 (ประมาณ)$2,340,363 (ทั่วโลก)

การออกแบบคิวบู้ องค์บาก 2-3

ออกแบบคิวบู้โดยอาจารย์ชีวิน อัจฉริยะฉาย เจ้าของโรงเรียนศิลปะศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ

แหล่งอ้างอิงจาก

ติดต่อเรา

บทความและข่าวสารอื่นๆ

Taifudo Academy - โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ หรือ ไทฟูโด รับรองหลักสูตรโดยกระทรวงศึกษาธิการ
วูซู (Wushu) หรือที่รู้จักในชื่อกังฟู (Kung Fu) เป็นศิลปะการต่อสู้ที่มีต้นกำเนิดจากประเทศจีน วูซูไม่...
Taifudo Academy - โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ หรือ ไทฟูโด รับรองหลักสูตรโดยกระทรวงศึกษาธิการ
กังฟูเส้าหลินเป็นหนึ่งในศิลปะการต่อสู้ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักมากที่สุดในโลก ศิลปะการต่อสู้นี้...
อุปกรณ์ฝึกมวย เช่น กระสอบทราย, นวมมวย, และเป้าซ้อม ที่ใช้สำหรับการฝึกทักษะและเพิ่มความแข็งแรงในการต่อสู้
กระสอบทรายเป็นอุปกรณ์สำคัญที่นักมวยและผู้ฝึกซ้อมใช้เพื่อพัฒนาทักษะการต่อสู้และความแข็งแกร่งของร่างกา...
Taifudo Academy - โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ หรือ ไทฟูโด รับรองหลักสูตรโดยกระทรวงศึกษาธิการ
นวมมวยเป็นหนึ่งในอุปกรณ์สำคัญที่ขาดไม่ได้ในการชกมวย ไม่ว่าจะเป็นการฝึกซ้อมหรือการแข่งขัน นวมมวยมีบทบ...
dark-style-ninja-naruto (Web H)
หวง เฟย์หง หรือ หว่อง เฟ้ย์ห่ง เป็นปรมาจารย์กังฟูที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์จีน มีชื่อเสียงเป็นที่...
Taifudo Academy - โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ หรือ ไทฟูโด รับรองหลักสูตรโดยกระทรวงศึกษาธิการ
สนามมวยลุมพินี (อังกฤษ: Lumpinee Boxing Stadium) เป็นสนามมวยมาตรฐานของประเทศไทยที่มีความสำคัญเทียบเท...