คาราเต้ (Karate) ศิลปะผสมผสานเสริมร่างกายผนึกจิตใจ

คาราเต้ (Karate) ศิลปะผสมผสานเสริมร่างกายผนึกจิตใจ
ไทฟูโด (Taifudo Academy) โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ

คาราเต้ (ญี่ปุ่น: 空手; โรมาจิ: karate; ทับศัพท์: คะระเตะ) หรือ คาราเต้โด (ญี่ปุ่น: 空手道; โรมาจิ: karatedō; ทับศัพท์: คะระเตะโด; วิถีมือเปล่า) เป็นศิลปะการต่อสู้ถือกำเนิดที่โอะกินะวะ ประเทศญี่ปุ่น เป็นการผสมผสานระหว่างการต่อสู้ของชาวโอะกินะวะและชาวจีน คาราเต้ได้เผยแพร่เข้าสู่ญี่ปุ่นในปี พ.ศ.2464 (ค.ศ.1921) เมื่อชาวโอะกินะวะอพยพเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น

คาราเต้มักถูกเข้าใจผิดว่า เป็นการต่อสู้ด้วยการฟันอิฐ แต่ที่จริงแล้ว คือการต่อสู้ด้วยการใช้อวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เช่น กำปั้น เท้า สันมือ นิ้ว ศอก เป็นต้น แต่เมื่อถูกดัดแปลงเป็นกีฬาแล้วเหลือเพียงมือและเท้า

ประวัติ

สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 14 โอะกินะวะได้มีการติดต่อการค้ากับทางจีนแผ่นดินใหญ่ที่มีมานานมากตั้งแต่สมัยอดีต ในขณะนั้นได้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม วิชาการความรู้แขนงต่างๆ รวมถึงศิลปะการป้องกันตัว โอะกินะวะได้มีศิลปะการต่อสู้ประจำอยู่แล้ว และได้ผสมผสานกับทักษะที่ได้รับมาจากจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งก็คือมวยใต้ จนสามารถเรียกได้ว่าญี่ปุ่นเป็นต้นกำเนิดของคาราเต้ โดยโอะกินะวะจะเรียกศิลปะป้องกันตัวของตนเองว่า โทเต้ (唐手Tode) ในภาษาโอะกินะวะ หรือในภาษาญี่ปุ่นจะเรียก โอะกินะวะเต้ (沖縄手 Okinawa Te) โดย โอะกินะวะเต้ จะมีวิชาที่สามารถแยกเป็นจุดเด่นของแต่ละสำนัก หลักๆ ได้แก่ 3 สำนักหลัก ซึ่งชื่อสำนักได้ตั้งตามชื่อเมืองใหญ่ที่วิชานั้น ๆ อาศัยอยู่ ได้แก่ ชูริเต้ (Shuri Te) นาฮาเต้ (Naha Te) และโทมาริเต้ (Tomari Te)

ชูริเต้ มวยแห่งเมืองชูริ (Shuri-Te 首里手)

โซคอน มัทสุมูระ (Sokon Mutsumura) ผู้เชี่ยวชาญแห่งชูริเต้ได้เดินทางไปจีนเพื่อศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมความรู้ของตนและนำกลับมาพัฒนาชูริเต้ ความรู้ใหม่ที่โซคอนนำมาก็คือ ทักษะของมวยสิงอี้ฉวน ต่อมา โชกิ โมโตบุ Shoki Motobu ผู้เชี่ยวชาญแห่งชูริเต้ ได้แลกเปลี่ยนความรู้กับ T’ung Gee Hsing (ผู้สืบทอดวิชาสิงอี้ และปากั้ว ซึ่งอพยพมาอยู่ที่โอะกินะวะ)

ต่อมาปีค.ศ. 1922 ฟูนาโกชิ กิชิน ลูกศิษย์ของ อังโก อิโตสึ (Anko Itosu) แห่งชูริเต้ ได้พัฒนาคาราเต้ และเผยแพร่เข้าสู่ญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการที่โตเกียวโดยได้รับการสนับสนุนของ จิกาโร่ คาโน (Jikaro Kano) ผู้ก่อตั้งยูโดโคโดกัน Kodokan Judo และต่อมา บรรดาศิษย์ของฟูนาโกชิ ได้เรียกรูปแบบการสอนของฟูนาโกชิว่า โชโต (Shoto 松涛) ตามนามปากกาของท่าน และได้เรียกโรงฝึกแห่งแรกของท่านว่า โชโตกัน (松涛館)

นาฮาเต้ มวยแห่งเมืองนาฮา (Naha-Te 那覇手)

คันเรียว ฮิกาอนนะ (Kanryo Higaonna) ลูกศิษย์ของ อาราคากิ เซย์โช (Arakagi Seisho) ผู้เชี่ยวชาญนาฮาเต้ ได้เดินทางสู่ฟูเจี้ยนเพื่อหาประสบการณ์และศึกษาวิชาการต่อสู้ของจีน ได้เรียนกับ เซี่ยจงเสียง ( 谢崇祥Xie zongxiang 1852-1930) หรืออีกชื่อหนึ่ง ริวริวโก (如如哥 Ryu Ryu Ko) ผู้เชี่ยวชาญมวยกระเรียนหมิงเฮ่อฉวน (鸣鹤拳 Minghe Quan) และเดินทางกลับมาพัฒนานาฮาเต้ ต่อมา โชจุน มิยากิ (宮城 長順 Miyagi Chojun, 1888-1953) ผู้สืบทอดนาฮาเต้ของคันเรียว ได้เปลี่ยนชื่อสำนักนาฮาเต้ เป็น โกจูริวคาราเต้ (剛柔流空手) เพื่อพัฒนาให้ทันสมัย และได้เข้ามาในญี่ปุ่นและเริ่มทำการสอนคาราเต้ (แต่เดิมสอนอยู่ในโอะกินะวะ) เป็นเวลาไม่นานนักหลังจาก ฟูนาโกชิ แห่งโชโตกัน

หลังจากที่ มิยากิ ได้ทำการสอนในญี่ปุ่นและโอะกินะวะ ท่านได้ตัดสินใจเดินทางไปยังประเทศจีนแผ่นดินใหญ่เพื่อกราบเซี่ยจงเสียงเป็นอาจารย์ ศึกษาในด้านของมวยจีนตามแบบอาจารย์ของตน และได้กลับมาญี่ปุ่นอีกครั้งเพื่อเรียบเรียงตำราการฝึกสอนของสำนักโกจูริวขึ้นใหม่ ให้เหมาะสมกับที่ท่านได้เรียนรู้มา

ปัจจุบันประวัติศาสตร์ส่วนนี้มีประเด็นถกเถียงกันว่า เซี่ยจงเสียง กับ ริวริวโก เป็นคนละคนกัน เนื่องจากบันทึกของ มิยากิโชจุน กล่าวไว้ว่า ตอนที่เดินทางไปฟุเจี้ยนกราบ ริวริวโก เป็นอาจารย์ถึงได้ทราบว่า ริวริวโกเสียชีวิตไปแล้ว จึงได้กราบ เซี่ยจงเสียงเป็นอาจารย์แทน(ขณะนั้น เซี่ยจงเสียงได้รับสมญานามว่า หรูเกอ หรือ ริวโก ซึ่งแปลว่าเหมือนดั่งพี่ชาย หรือเหมือนดั่งครู ไม่ใช่ หรูหรูเกอ หรือ ริวริวโก) และจากประวัติที่ คันเรียว ฮิกาอนนะไปกราบ ริวริวโกเป็นอาจารย์ ขณะนั้น เซี่ยจงเสียงยังเป็นเพียงเด็กอายุ13ปี(คันเรียว ฮิกาอนนะ อายุมากกว่า เซี่ยจงเสียง1ปี) ซึ่งในขณะนั้น ริวริวโกได้รับ นากาอิมะ โนริซาโต้(仲井間憲里 Nakaima Norisato )ผู้ก่อตั้งสำนักริวเอริว(劉衛流) เป็นศิษย์มานานกว่าสิบปีแล้ว

ในขณะที่ มิยากิ เดินทางไปจีนแผ่นดินใหญ่ หนึ่งในนักเรียนที่ดีที่สุดของ มิยากิ ที่รู้จักกันดีในญี่ปุ่นก็คือ โกเกน ยามากูจิ (剛玄 山口 Gogen Yamaguchi, 1909-1989) ฉายา THE CAT ผู้ได้รับสายดำระดับ 10 ดั้งจากมิยากิ ได้ทำการสอนต่อไปในญี่ปุ่น โดยยึดหลักการสอนแบบดั้งเดิมที่ได้เรียนรู้จากมิยากิ ก่อนที่จะไปศึกษาต่อที่จีน

ภายหลังจึงเป็นเหตุให้เกิดการแบ่งแยกสำนักโกจูริว เป็น 2 พวก คือ โกจูริว ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงท่าใหม่ ซึ่งผสมผสานศิลปะของมวยจีน โดย โชจุน มิยากิ และ โกจูไก พวกที่มีการสอนในญี่ปุ่นตั้งแต่แรกเริ่ม โดย โกเกน ยามากูจิ

ความหมายคำว่า คาราเต้

คำว่า “คาราเต้” เดิมทีมาจากการออกเสียงแบบชาวโอะกินะวะ ตัว “คารา” 唐 ในภาษาจีน หมายถึง “ประเทศจีน” หรือ “ราชวงศ์ถัง” ส่วน “เต้” 手 หมายถึง มือ คาราเต้ หมายความว่า “ฝ่ามือจีน” หรือ “ฝ่ามือราชวงศ์ถัง” หรือ “กำปั้นจีน” หรือ “ทักษะการต่อสู้แบบจีน” ในรูปแบบการเขียนแบบนี้ “ฝ่ามือราชวงศ์ถัง” จึงหมายถึง การต่อยมวยแบบถัง หรือ “ฝ่ามือจีน” ก็บ่งบอกถึงอิทธิพลที่รับมาจากลักษณะการต่อสู้ของชาวจีน ในปีค.ศ. 1933 หลังจากสงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่นครั้งที่ 2 กิชิน ฟุนาโคชิ (船越義珍 Funakoshi Gichin, 1868-1957) ซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะ บิดาแห่งคาราเต้สมัยใหม่ ได้เปลี่ยนตัวอักษร “คารา” ไปเป็นตัวอักษรที่มีเสียงเหมือนกันแต่มีความหมายว่า “ความว่างเปล่า” 空 แทน

เมื่อปีค.ศ. 1936 หนังสือเล่มที่สองของฟุนาโคชิใช้ตัวอักษร “คารา” ที่มีความหมายว่าความว่างเปล่า และในการชุมนุมบรรดาอาจารย์ชาวโอะกินะวะก็ใช้ตัวอักษรเดียวกัน ตั้งแต่นั้นมาคำว่า “คาราเต้” (ซึ่งออกเสียงเหมือนเดิม แต่ใช้ตัวอักษรใหม่) จึงหมายถึง “มือเปล่า”

คำว่า “มือเปล่า” ไม่เพียงแต่นักคาราเต้จะต่อสู้โดยปราศจากอาวุธแล้ว ยังซ่อนความหมายตามความเชื่อแบบเซ็นไว้ด้วย เพราะตามวิถีแห่งเซ็นการพัฒนาความสามารถ และศิลปะของแต่ละบุคคล จะต้องทำจิตใจให้ว่างเปล่า ละเว้นจากความปรารถนา ความมีทิฐิและกิเลสต่างๆ

คาราเต้ แปลว่า วิถีแห่งการใช้มือ (ร่างกาย) ต่อสู้โดยปราศจากอาวุธ วิถีแห่งคาราเต้เป็นวิธีการดึงพลังจากทั้งร่างมารวมให้เป็นหนึ่งในการต่อสู้โจมตี ซึ่งความรุนแรงของการโจมตีนั้นมีคำกล่าวถึงว่า “อิคเคน ฮิซัทสึ”(一拳必殺) หรือ “พิชิตในหมัดเดียว” สิ่งที่สำคัญของคาราเต้คือการต่อสู้กับตนเอง เช่นการฝึกยั้งแรงการโจมตี โดยใช้ในการหยุดโจมตีเมื่อสัมผัสร่างกายคู่ต่อสู้แม้เพียงเล็กน้อย เพื่อให้เกิดความรู้สึกเจ็บไม่มากและป้องกันการบาดเจ็บ ซึ่งเป็นการฝึกการกำหนดความรุนแรงของการโจมตี เมื่อผู้ฝึกสามารถยั้งแรงได้ เขาก็จะเพิ่มความรุนแรงในการโจมตีได้จนถึงขีดความสามารถเช่นเดียวกัน

คำว่า โด แปลว่า วิถีทาง ลู่ทาง ศาสตร์ อีกทั้งยังหมายถึงปรัชญาเต๋าอีกด้วย โด เป็นคำต่อท้ายที่ใช้สำหรับศิลปะหลายชนิด ให้ความหมายว่า นอกจากจะศิลปะเหล่านั้นจะเป็นทักษะแล้ว ยังต้องมีพื้นฐานของจิตวิญญาณอยู่ด้วย สำหรับในความหมายที่เกี่ยวข้องกับศิลปะการต่อสู้ อาจจะแปลได้ว่า “วิถีแห่ง…” เช่น ใน ไอคิโด ยูโด เคนโด ดังนั้น “คาราเต้โด” จึงหมายถึง “วิถีแห่งมือเปล่า”

“โด” อาจมองได้ 2 แบบ คือ แบบปรัชญา และแบบกีฬา

“โด” แบบปรัชญา ด้วยความหมายที่แปลว่า วิถีทาง และเป็นชื่อศาสนาเต๋าของศาสดาเหล่าจื๊อ ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากในด้านปรัชญาพุทธศาสนานิกายเซนของญี่ปุ่น การตีความหมายคำนี้ จึงอาจมองได้ว่า วิถีทางการดำเนินชีวิต จิตวิญญาณของนักคาราเต้ เป็นต้น ซึ่งนักคาราเต้บางท่าน อาจใช้ คาราเต้ เป็นวิถีแห่งการเข้าถึง จิตวิญญาณแห่งธรรมชาติ(เต๋า เซน) ได้ ดังนั้น คำว่า “โด” ของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน เพราะแต่ละคนจำมีวิธีการในการเดินแตกต่างกัน

“โด” แบบกีฬา จริง ๆ ในปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่ามีทั้งคำว่า คาราเต้ และ คาราเต้โด ทำไมต้องเพิ่มคำว่า โด คำว่า “โด” เริ่มใช้ครั้งแรกในศิลปะป้องกันตัว ยูโด โดยปรมาจารย์จิกาโร่ คาโน แห่งโคโดกันยูโด เพื่อเปลี่ยนแปลง และแบ่งแยกวิชาใหม่ โดยแยกตัวออกจากวิชา ยูยิทสุ ซึ่งยูโดได้ตัดทอนกระบวนท่าที่อันตรายออกไป เพื่อการฝึกฝนได้อย่างเต็มที่ และสามารถจัดการแข่งขันได้

คาราเต้ แต่เดิมไม่มีคำว่าโด เช่นกัน แต่ก่อนจะเรียกว่า คาราเต้จิทสุ หรือว่า คาราเต้ แต่เริ่มใช้คำว่า “โด” เมื่อมีการจัดการแข่งขันชิงชนะเลิศ ซึ่งต้องรวมนักคาราเต้จากทั้ง 4 สำนักใหญ่เข้าไว้ จึงต้องบัญญัติกฎการแข่งขันใหม่ ลดทอนการจู่โจมที่อันตราย และสามารถแข่งขันกันได้อย่างเต็มที่ และเป็นกลางที่สุด คำว่า “โด” ในคาราเต้จึงเกิดขึ้น และมีความหมายว่า วิถีทางการต่อสู้ในรูปแบบของคาราเต้ ซึ่งคำว่าคาราเต้โด โดยมากจะใช้ในการแข่งขัน

การฝึกฝน

ขั้นตอนการฝึกของคาราเต้โด จะเริ่มต้นที่การสอนธรรมเนียมปฏิบัติ เช่นท่าเคารพต่าง ๆ การปฏิบัติตนต่อเซนเซ (อาจารย์) เซมไป (รุ่นพี่) มารยาทในโดโจ (โรงฝึก) ระเบียบในการฝึกต่างๆ แล้วจึงสอนหลักในวิชาคาราเต้ โดยจะเริ่มต้นที่การยืนในท่าชิเซนไต (ท่ายืนธรรมชาติ), ซึกิ (ท่าชก), อุเกะ (ท่าปัดป้อง), เกริ (ท่าเตะ), ดาจิ (ท่ายืนและการย่างก้าว) และนำท่าชกปัดหรือเตะมารวมกับท่าย่างก้าว จนเป็นท่ากิฮ้อง (พื้นฐาน) ต่างๆ เมื่อนำท่าพื้นฐานมาฝึกเข้าคู่กัน โดยให้ฝ่ายหนึ่งบุกฝ่ายหนึ่งรับ ก็จะเป็นการฝึกเพื่อเพิ่มทักษะคูมิเต้ (การต่อสู้) และที่การรวมท่าพื้นฐานต่างๆ มาร้อยเรียงเป็นเพลงมวยไว้รำ หรือที่เรียกว่ากาต้า เพื่อใช้ฝึกสมาธิ และเทคนิครูปแบบในการต่อสู้ต่างๆ

สิ่งสำคัญที่จะรวมเป็นนักคาราเต้ที่ดีได้ต้องมีทั้งความเป็น “คาราเต้” และต้องมี “โด” ในจิตใจ โดย คาราเต้ ต้องประกอบด้วย 3K คือ Kihon (基本 กิฮ้อง) เป็นท่าพื้นฐาน Kumite (組手 คุมิเต้) เป็นการต่อสู้ Kata (型 คาตะ) เป็นท่าเพลงมวย รวมแล้วเป็น KARATE ( 空手 คาราเต้ ) เป็นการฝึกเพื่อให้มีสุขภาพพลานามัยที่แข็งแรง และสามารถต่อสู้ป้องกันตัว ช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นได้ในยามคับขัน และสิ่งสุดท้ายคือ DO (道 โด) ในคำว่า คาราเต้โด คือการฝึกตนเองให้มีระเบียบวินัยต่อตนเองและผู้อื่น มารยาทกาลเทศะ ความอ่อนน้อมถ่อมตน และหลักปรัชญาพุทธนิกายเซน โดย โด เป็นสิ่งที่ควบคุมจิตใจไม่ให้นักคาราเต้ไปทำร้ายผู้อื่นได้เหมือนดาบในฝัก ดังนั้นนักคาราเต้จึงไม่เป็นแค่นักสู้เท่านั้น แต่ยังต้องเป็นคนที่มีจิตใจดีงามอีกด้วย

คาตะ Kata 型,形

ในคาราเต้ คาตะมีความสำคัญมาก คาตะสามารถบ่งบอกถึงลักษณะเด่นของในคาราเต้แต่ละสำนักได้ว่า สำนักนั้น ๆมีจุดเด่นในการต่อสู้อย่างไร รวมไปถึงระดับความสามารถของบุคคลที่ร่ายคาตะออกมาด้วยว่าอยู่ในระดับไหน มีความรู้ในด้านคาราเต้อย่างไร ในปัจจุบันมีสำนักคาราเต้มากมาย และในแต่ละสำนักก็จะมีคาตะที่ไม่เหมือนกัน ตามแต่ว่าคาราเต้ในสายนั้น ๆ จะสืบทอดต่อกันมาใน โอะกินะวะ-เต้ ชนิดใด

โชโตกันริว Shotokan-Ryu 松涛館流

Taikyoku shodan (太極初段)*Heian shodan (平安初段)*Heian nidan (平安二段)*
Heian sandan (平安三段)*Heian yondan (平安四段)*Heian godan (平安五段)*
Tekki shodan (鉄騎初段)Tekki nidan (鉄騎二段)Tekki sandan (鉄騎三段)
Bassai dai (披塞大)Bassai sho (披塞小)Jion (慈恩)
Empi (燕飛)Kanku dai (観空大)Kanku sho (観空小)
Hangetsu (半月)Jitte (十手)Gankaku (岩鶴)
Nijushiho (二十四步)Chinte (珍手)Sochin (壯鎭)
Meikyo (明鏡)Unsu (雲手)Wankan (王冠)
Gojushiho sho (五十四歩小)Gojushiho dai (五十四歩大)Ji’in (慈陰)

โกจูริว Goju-Ryu 剛柔流

Taikyoku (太極)*Gekisai (撃砕, げきさい)*Sanchin (三戦, サンチン)
Tensho (転掌, テンショウ)Saifa (砕破, サイファー)Seienchin (制引戦, セイユンチン)
Shisochin (四向戦, シソーチン)Sanseiru (三十六手, サンセイルー)Seipai (十八手, セイパイ)
Seisan (十三手, セイサン)Kururunfa (久留頓破, クルルンファー)Suparinpei (壱百零八, スーパーリンペイ)

วาโดริว Wado-Ryu 和道流

Taikyoku (太極)*Pinan Shodan (平安初段)*Pinan Nidan (平安二段)*
Pinan Sandan (平安三段) *Pinan Yondan (平安四段)*Pinan Godan (平安五段)*
Naihanchi (内畔戦)Kusanku (公相君)Passai (披塞)
Seishan (征射雲)Chinto (鎮闘)Niseishi (二十四步)
Rohai (老梅)Wanshu (晚愁)Jion (慈恩)
Jitte (十手)Suparinpei (壱百零八)

ชิโตริว Shito-Ryu 糸東流

太極(Taikyoku)*平安初段(Pinan Shodan)*平安二段(Pinan Nidan)*
平安三段(Pinan Sandan)*平安四段(Pinan Yondan)*平安五段(Pinan Godan)*
十手(Jitte)慈陰(Jiin)慈恩(Jion)
鎮闘(Chinto)珍手(Chinte)五十四步(Gojushiho)
披塞大(Bassai Dai)披塞小(Bassai Sho)腕秀(Wanshu)
公相君大(Koshokun Dai)公相君小(Koshokun Sho)公相君四方(Koshokun Shiho)
老梅,老梅初段(Rohai,Rohai Shodan)壮鎮(Sochin)二十四步(Niseishi)
内畔戦初段(Naihanchin Shodan)内畔戦二段(Naihanchin Nidan)内畔戦三段(Naihanchin Sandan)
松風(Matsukaze)十六(Jyuroku)青柳(Aoyagi)
二十八步, 古流 (Nipaipo, Koryu)八步連(Papuren)白鸟(Hakucho, Haffa)
三戦(Sanchin)転掌(Tensho)征遠鎮(Seienchin)
碎破(Saifa)十三(Seisan)四向戦(Shisochin)
十八(Seipai)三十六(Sanseiru)壱百零八(Suparinpai)
久留顿破(Kururunfa)云手(Unsu)安南(Annan)
黑虎(Heiku)白虎(Paiku)巴球(Pachu)
安南公(Annan Ko)松村披塞(Matsumura Bassai)北谷屋良公相君(Chatanyara Kushanku)
八方掌(Haposho)* *拳秀(Kenshu)* *拳掌(Kensho)* *
松村老梅(Matsumura Rohai)**老梅二段(Rohai Nidan)**老梅三段(Rohai Sandan)**
明鏡(Myojo,Meikyo)**白鹤(Hakutsuru, Hakaku)**松村十三(Matsumura Seisan)**
泊老梅(Tomari Rohai)* *心波(Shinpa)**泊披塞(Tomari Bassai)**

* หมายถึง คาตะที่เป็นท่าพื้นฐาน ** หมายถึง คาตะที่ยังไม่ได้รับการรับรองให้ใช้ในการแข่งขันที่ใช้กฎ WKF

และคาตะที่ไม่มี * หมายถึง คาตะที่สามารถใช้ในการแข่งขันได้ที่ใช้กฎ WKF ได้

ระดับของสาย

การแบ่งระดับของคาราเต้ด้วยการคาดสายนั้น(Obi) จะเรียกว่า คิว(Kyu) ใช้ในระดับสายสี และดั้ง (Dan) ใช้ในระดับสายดำ

แนะนำตารางแบบตัวเลขสำหรับมาตรฐานระดับสายคาดเอวของสมาคมไทย-ญี่ปุ่น โชโตกันคาราเต้ (ประเทศไทย) และสมาคมคาราเต้โดโกจูไก (ประเทศไทย)

ระดับสายคาดเอวสมาคมไทย-ญี่ปุ่นสมาคมคาราเต้โดโกจูไก
10kyuขาวขาวปลายเหลือง
9kyuขาวเหลือง
8kyuขาวเหลืองปลายเขียว
7kyuเหลืองเขียว
6kyuเหลืองเขียวปลายฟ้า
5kyuเขียวฟ้า
4kyuฟ้าฟ้าปลายน้ำตาล
3kyuน้ำตาลน้ำตาล
2kyuน้ำตาลน้ำตาลปลายดำหนึ่ง
1kyuน้ำตาลน้ำตาลปลายดำสอง
1-10Danดำดำ

หมายเหตุ : 1-10Dan ดำ ซึ่งในบางสำนักจะใช้ระดับมาตรฐาน(รวมถึงสายของสี) จะใช้ไม่เหมือนกันตามแต่ละสำนัก ถึงแม้นว่าจะสำนักเดียวกัน แต่คนละประเทศก็สามารถแตกต่างกันได้

เพื่อทราบเพิ่มเติมว่าอาจมีการใช้มาตรฐานและสายคาดเอวที่แตกต่างกันไปตามแต่ละสำนัก แม้ว่าอาจจะอยู่ในสมาคมเดียวกันก็ตามคนละประเทศอาจมีความแตกต่างกันได้

บทความและข่าวสารอื่นๆ

ไทฟูโด (Taifudo Academy) โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ
ไอคิโด (Aikido) คืออะไร?
"ไอกิโด" เขียนคำ "คิ" ในแบบตัวอักษรดั้งเดิม
ไทฟูโด (Taifudo Academy) โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ
มวยไชยา (Muay Chaiya)
มวยไชยา เป็นศิลปะมวยไทยประจำถิ่นอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีชื่อเสียงมากสมัยรัชกาลที่ 5 – ...
ไทฟูโด (Taifudo Academy) โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ
มวยไทย (Muay thai)
มวยไทย เป็นศิลปะการต่อสู้ของประเทศไทย มีความโดดเด่นด้านเทคนิคการกอดคอต่อสู้ ซึ่งเป็นการใช้ทั้งกายและ...
ไทฟูโด (Taifudo Academy) โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ
คาราเต้ (Karate) ศิลปะผสมผสานเสริมร่างกายผนึกจิตใจ
คาราเต้ (ญี่ปุ่น: 空手; โรมาจิ: karate; ทับศัพท์: คะระเตะ) หรือ คาราเต้โด (ญี่ปุ่น: 空手道; โรมาจิ: karat...
ไทฟูโด (Taifudo Academy) โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ
ศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสาน (MMA) คืออะไร? 
ศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสาน หรือ Mixed Martial Arts (MMA) เป็นกีฬาการต่อสู้ที่มีความเคลื่อนไหวและน่าสนใ...
ไทฟูโด (Taifudo Academy) โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ
ยูโด (Judo) คืออะไร?
ยูโด (ญี่ปุ่น: 柔道; โรมาจิ: jūdō จูโด) เป็นกีฬาและศิลปะการต่อสู้ที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น มีต้นกำเนิ...
Before you continue to use Taifudo Academy
We use required cookies for site navigation, purchasing, improving your browsing experience to:
  • Provide you with services described on the Sites, general administrative and performance functions, and support services;
  • Operate the Sites and verify your identity when you sign in to any of our Sites;
  • Inform you about company news and give updates on our services;
  • Carry out technical analysis to determine how to improve the Sites and services we provide;
  • Track outages and protect against spam and fraud.
If you choose to “Accept all,” we will also use cookies and data to:
  • Improve site performance;
  • Deliver and measure the effectiveness of ads;
  • Show personalized content and ads, depending on your settings.
You can always change your browser settings and other ways to reject cookies. To learn more, please visit www.allaboutcookies.org.