บทที่ 6 ท่าดีมวยไชยา (Muay Chaiya)

taifudo book6 Website Taifudo Academy

ต๊ะ นายเรียนแต่มวยต่างประเทศทำไมไม่เรียนมวยไทยด้วยว่ะ” เพื่อนคนหนึ่งพูด ผมหันไปมองหน้าเพื่อนคนนั้นดังขวับจนเพื่อนกังวลว่าผมจะไม่พอใจ “เออ จริงว่ะ” ผมพูดตอบไป ผมไม่ได้รู้สึกโกรธที่เพื่อนทักแบบนั้น แต่กลับสะดุดในคำถามที่ผมก็ไม่รู้ว่าจะเริ่มเรียนมวยไทยที่ไหนยังไงกับใครดี

วันหนึ่งผมนั่งรถเมล์ และลงตรงโชคชัย 4 เดินลงมาก็เจอแผงหนังสือ ตาพลันไปสะดุดปกหนังสือเล่มหนึ่งที่วางขายอยู่ เป็นนิตยสารสารคดีขึ้นปกนักมวยไทย (นิตยสาร สารคดี ฉบับที่ 33 ปีที่ 3 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2530 มวยไทยสุดยอดศิลปะแห่งการต่อสู้) ผมรีบซื้อทันที ผมอ่านรายละเอียดด้านในแล้วรีบโทรหาบรรณาธิการหนังสือ เพื่อขอเบอร์โทรติดต่อครูมวยไทยที่ทางหนังสือทำสกู๊ปสัมภาษณ์ไว้ ท่านชื่อ “ครูทองหล่อ ยาและ”

กำเนิดมวยไชยา

มีวัดเก่าแก่อรัญญิกชื่อวัดทุ่งจับช้าง เป็นวัดรกร้างอยู่ในป่าริมทางด่านเดิมที่จะไปอำเภอไชยา วัดนี้มีชื่อเสียงเพราะสมภารซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “พ่อท่านมา” เป็นชาวกรุงเทพฯ ได้หลบหนีไปอยู่เมืองไชยาด้วยเรื่องใดไม่ปรากฏ “พ่อท่านมา” ได้ฝึกสอนวิชามวยไทยแก่ชาวไชยาจนขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองมวย แม้ทุกวันนี้นักมวยที่ปรารถนาความสวัสดีมีชัย ต้องร่ายรำมวยเป็นการถวายคารวะหน้าที่บรรจุศพก่อนที่จะผ่านไป มวยสุราษฎร์ฯ หรือมวยไชยาจึงมีชื่อเสียงตลอดมา

มวยไทยไชยา จากหลักฐานและคำบอกเล่านั้นเริ่มต้นที่พ่อท่านมา ไม่มีใครทราบว่าท่านมีชื่อจริงว่าอย่างไรทราบแต่เพียงว่าท่านเป็นครูมวยใหญ่จากพระนคร บ้างก็ว่าท่านเป็น ขุนศึกแม่ทัพแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ชาวเมืองจึงเรียกเพียงว่า พ่อท่านมา ท่านได้เดินทางมาที่เมืองไชยา และได้ถ่ายทอดวิชาการต่อสู้ไว้ให้แก่ชาวเมือง และศิษย์ที่ทำให้มวยเมืองไชยาเป็นที่รู้จักมากที่สุดในยุครัชกาลที่ 5 คือพระยาวจีสัตยารักษ์ (ขำ ศรียาภัย)

ท่าดี มวยไชยา (Muay Chaiya)

ครูทองหล่อ ยาและ หรือครูทอง เชื้อไชยา เป็นนักมวยไทย ผู้เป็นศิษย์ของเขตร ศรียาภัย และอาจารย์กิมเส็ง เป็นครูมวยไทยสายมวยไชยาที่มีชื่อเสียงคนหนึ่ง ครูทองท่านเกิดเมื่อ 1 สิงหาคม พ.ศ.2472 ที่โรงพยาบาลศิริราชกรุงเทพฯ

เมื่อเรียนอยู่ชั้น ป.6 โรงเรียนวัฒนศิลป์ ประตูน้ำ เริ่มเรียนมวยสากลกับครูประสิทธิ์นักมวยสากลจากกรมพละ ช่วงอายุ 13-14 ปี ครูทองได้ออกหาค่ายมวยไทยที่จะเรียน อย่างจริงจัง ครูไปดูอยู่หลายที่แต่ก็ไม่ถูกใจ เพราะแต่ละค่ายนั้นเวลาซ้อมนักมวย จะเจ็บตัวกันมากไม่มีการป้องกันตัวเลย ครูทองจึงได้ไปหัดเรียนมวยไทยกับ ป๊ะลาม ญาติของแม่แถวซอยกิ่งเพชรมีครูฉันท์ สมิตเวช กับครูชาย สิทธิผล สอน

หลังจากจบภาคการศึกษา ครูทองได้มาทำงานที่การรถไฟ มักกะสันได้รู้จักกับเพื่อนของคุณพ่อ ชื่ออาจารย์สามเศียรได้พูดคุยเรื่องมวย และพาไปพบกับอาจารย์เขตรที่บ้าน ครูทองจึงเริ่มเรียน มวยไชยา ขั้นพื้นฐานตามลำดับ เรียนอยู่หลายเดือน จึงคิดจะขึ้นชกเวทีเหมือนอย่างรุ่นพี่บ้างช่วงนั้น ครูทองอายุประมาณ 16 ปี จึงไปขออนุญาตอาจารย์เขตร อาจารย์ท่านก็ดูฝีไม้ลายมือว่าใช้ได้ จึงบอกครูให้ฟิตให้ดีแล้วจะพาไปชก แต่ครูทองท่านได้แอบไปชกมวยเวทีตามต่างจังหวัดรอบๆ กรุงเทพฯ ชนะมากกว่าแพ้ และได้ชกชนะมวยดังฉายาเสือร้ายแปดริ้วที่ฉะเชิงเทรา เป็นข่าวรู้ถึงอาจารย์เขตร นับแต่นั้นครูทอง จึงได้ชกใน กรุงเทพฯ โดยอาจารย์เขตรจะพาไปเอง

ครูทองชกครั้งแรกที่เวทีราชดำเนินกับสมชาย พระขรรค์ชัย ครูทองแพ้ด้วยความตื่นเวทีใหญ่ เมื่อครูทองติดต่อขอแก้มือแต่ฝ่ายสมชาย ไม่ขอแก้มือด้วย มาเลิกชกมวยเมื่ออายุ 24 ปี เมื่อคุณย่าท่านป่วยหนัก และได้ขอร้องให้ครูทองเลิกชกมวยเวที ครูทอง ก็ให้สัจจะแต่ขอคุณย่าไว้ว่าจะเลิกต่อยแต่ไม่เลิกหัดคุณย่าท่านก็อนุญาต

ครูทองได้เรียนมวยกับอาจารย์เขตรอยู่อีกหลายปีจนอาจารย์เขตร ออกปากว่าจะพาไปเรียนกับอาจารย์ใหญ่ อาจารย์เขตร จึงฝากครูทองให้ไปเรียนวิชาต่อกับอาจารย์ กิมเส็ง ครูทองท่านสนใจเรียนมวยมากเมื่ออาจารย์ กิมเส็ง ให้ถือดาบไม้ และให้ลองเล่นกับท่าน ดูโดยบอกว่า ก็เล่นเหมือนกับเล่นมวย นั้นแหละ ลองอยู่สักพัก อาจารย์กิมเส็ง ท่านก็บอกว่า ใช้ได้นี่ ด้วยเหตุนี้ ครูทอง จึงไม่ได้เรียนดาบ กับอาจารย์กิมเส็ง ซึ่งครูทองมักพูดว่าเสียดายอยู่เสมอๆ (แต่ครูทองก็มีความรู้เรื่องการฟันดาบอยู่ไม่น้อย) เรียนอยู่สัก 3 ปี อาจารย์กิมเส็ง ท่านก็สิ้น ครูทองได้มาช่วยเพื่อนชื่อไหวสอนมวยอยู่ราชบูรณะ และเริ่มสอนมวยอย่างจริงจัง เมื่อย้ายบ้านมาอยู่ที่ย่านบางนามีทหารเรือมาฝึกกับท่านจำนวนมาก ครูทองจึงได้ไป ขออนุญาต

อาจารย์เขตรว่าจะสอน ครั้นพูดจบอาจารย์เขตร ท่านก็เหวี่ยงแข้งเตะมาที่ครูทองทันที ครูทองก็รับปิดป้อง ว่องไว ตามที่ได้เรียนมา อาจารย์เขตร จึงว่าอย่างนี้สอนได้ และได้ให้ครูทองมาเรียนวิชาครูเพิ่มเติม ครูทอง ท่านใช้ ชื่อค่ายมวยว่า “ค่ายศรีสกุล” ต่อมาใช้ “ค่ายสิงห์ทองคำ” แต่ซ้ำกับค่ายอื่น ท่านจึงไปกราบขอชื่อ ค่ายมวยจากอาจารย์เขตร ซึ่งก็ได้รับความกรุณาโดยอาจารย์ได้ตั้งชื่อให้ว่า “ค่ายไชยารัตน์”

ด้วยเหตุว่าครั้งเรียนวิชามวยไชยากับอาจารย์เขตร ศิษย์ทุกคนจะใช้สกุลในการขึ้นชกมวยว่า “เชื้อไชยา” ครูทองมีลูกศิษย์หลายรุ่น แต่ละรุ่นท่านก็สอนไม่เหมือนกัน บางคนจะชกมวยสากลบางคนจะชกมวยไทยเวที ท่านจะสอนแตกต่างกันตามโอกาสจนเมื่อ พ.ศ.2526 ครูทองท่านได้ไปเผยแพร่มวยไทยคาดเชือกที่ ธนาคารกรุงเทพ สาขาสะพานผ่านฟ้า และได้พบกับนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ชมรมต่อสู้ป้องกันตัว อาวุธไทย ได้ขอท่านเรียนมวยแรกๆ ก็ไปเรียนที่บ้านครูแต่ระยะหลังจึงได้ เชิญครูทองท่านมาสอนที่มหาวิทยาลัย และครูทองได้เริ่มสอนแบบโบราณคาดเชือกด้วยเห็นว่าท่า ย่างสามขุม ของดาบนั้นเป็นแนวเดียวกับการเดินย่างของมวยคาดเชือกจนถึง พ.ศ.2527 ประธานชมรมศิลปะป้องกันตัว และ

อาวุธไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในขณะนั้น ได้เชิญครูท่านไปเป็นอาจารย์พิเศษที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อสอนวิชามวยไทยสายไชยาและกระบี่กระบอง ในรูปแบบของการตีหัวไม้ และการต่อสู้ด้วยดาบแบบใช้แม่ไม้เชิงมวย และการต่อสู้ด้วยไม้พลองสั้นให้กับสมาชิกชมรมศิลปะป้องกันตัว และอาวุธไทยตั้งแต่นั้นมา ครูทอง ได้ถ่ายทอดศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว มวยคาดเชือกสายไชยาให้กับทั้งสองสถาบันคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นหลัก ส่วนสถาบันการศึกษาอื่นที่ครูทองเคย ได้รับเชิญไปสอน ได้แก่ มหาวิทยาลัยสยาม วิทยาลัยเทคโนโลยีบางกะปิ เป็นต้น

อาจารย์ชีวิน อัจฉริยะฉาย เรียนมวยกับครูทอง ยาและ

“สวัสดีครับ ผมได้อ่านเกี่ยวกับมวยไทยในนิตยสารสารคดีผมสนใจอยากเรียนมวยไทยครับ” ครูทองเป็นคนรับสาย และบอกว่าท่านมีสอนที่ไหนบ้าง ผมเลือกเรียนวันเสาร์ และวันอาทิตย์ที่บ้านแถวเอกมัย เพราะสะดวกทั้งการเดินทาง และเวลาเรียน

ในปี พ.ศ.2530 ขณะนั้นผมเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยที่กรุงเทพฯ ผมเข้าชมรมคาราเต้ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย UTCC Karate Club ผมฝึกคาราเต้ทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์ช่วงเวลา 16.00-20.00 น. และฝึกเทควันโดกับอาจารย์กฤชทุกคืนเวลา 21.00-24.00 น. ต่อมาผมก็ได้ฝึกมวยไทยกับครูทองในวันเสาร์ และวันอาทิตย์ ช่วงเวลา 13.00-15.00 น. ผมฝึกทั้งสามวิชาต่อเนื่องด้วยกันตลอดทั้งปี

ผมไปเรียนมวยไทยกับครูทองครั้งแรก พร้อมรุ่นพี่ที่ฝึกคาราเต้ในชมรมมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยด้วยกัน แต่หลังจากนั้นไม่มีใครไปกับผมอีก ช่วงนั้นผมจึงได้ฝึกพร้อมกับเด็กนักเรียนจากโรงเรียนสวนกุหลาบที่ฝึกอยู่ก่อนแล้วราว 8 คน

ท่าครูหรือท่าย่างสามขุม ฝึกปั้นหมัด พันแขน พันหมัด กระโดดตบศอก พันหมัดพลิกเหลี่ยม เต้นแร้งเต้นกา ย่างสามขุม เสือลากหาง ฝึกป้อง ปัด ปิด เปิด ฯลฯ
ท่าครูหรือท่าย่างสามขุม ฝึกปั้นหมัด พันแขน พันหมัด กระโดดตบศอก พันหมัดพลิกเหลี่ยม เต้นแร้งเต้นกา ย่างสามขุม เสือลากหาง ฝึกป้อง ปัด ปิด เปิด ฯลฯ

ในตอนนั้น บ้านที่เอกมัยที่ผมไปฝึกกำลังมีการต่อเติมหรือซ่อมแซมห้องน้ำ ทำให้มีทรายที่กองอยู่ บางส่วนก็เรี่ยราดมาที่ลานที่พวกเราฝึก ในการฝึกท่ามวยหรือการจดมวย ท่าครูหรือท่าย่างสามขุม ฝึกปั้นหมัด พันแขน พันหมัด กระโดดตบศอก พันหมัดพลิกเหลี่ยม เต้นแร้งเต้นกา ย่างสามขุม เสือลากหาง ฝึกป้อง ปัด ปิด เปิด ฯลฯ เวลาฝึก และต้องเดินยกย่ำยกย่างด้วยเท้าเปล่าบนเศษทรายที่ร้อนแดดยามเที่ยง พวกเรายกย่างเท้ากันพัลวันอย่างขะมักเขม้น มันช่างได้อรรถรสดีแท้

อยากขอบใจเพื่อนที่พูดให้ผมได้ฉุกคิดเรื่องเรียนมวยไทย ซึ่งเป็นศิลปะการต่อสู้ที่ผู้ฝึกยุทธทั่วโลกให้การยอมรับว่าเป็นอีกหนึ่งสุดยอดการต่อสู้ ผมคนนึงก็ไม่พลาดที่ได้ฝึกฝนมีเชื้อมวยไทยไชยากับครูทองหล่อ ผู้เป็นศิษย์ของปรมาจารย์เขตร ศรียาภัย และอาจารย์กิมเส็ง ครูมวยไทยสายมวยไชยาที่มีชื่อเสียง

ติดต่อเพิ่มเติม...

อาจารย์ชีวิน อัจฉริยะฉาย
Chiwin Atchariyachay
卓(陳)遠輝
 
Taifudo Academy – 太夫道
โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ
(รับรองหลักสูตรโดยกระทรวงศึกษาธิการ)
 
สถานที่ : 21 ซอยพีเอสยู ถนนปุณณกัณฑ์ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110
Hatyai Songkhla Southern part of Thailand
地址:Punnakan 路 – PSU 小街, 合艾, 宋卡府 90110
Table of Contents

บทความและข่าวสารอื่นๆ

taifudo book6 Website Taifudo Academy

บทที่ 6 ท่าดีมวยไชยา (Muay Chaiya)

ในการฝึกท่ามวยหรือการจดมวย มวยไชยา ท่าครูหรือท่าย่างสามขุม ฝึกปั้นหมัด พันแขน พันหมัด ย่างสามขุม เสือลากหาง ฝึกป้อง ปัด ปิด เปิด ฯลฯ