บราซิลเลียนยิวยิตสู (Brazillian Jiu-jitsu) คืออะไร? และเหตุผล 5 ที่ควรเรียนบราซิลเลียนยิวยิตสู

บราซิลเลียนยิวยิตสู (Brazillian Jiu-jitsu) คืออะไร? และเหตุผล 5 ที่ควรเรียนบราซิลเลียนยิวยิตสู
ไทฟูโด (Taifudo Academy) โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ

บราซิลเลียนยิวยิตสู (อังกฤษBrazillian Jiu-jitsu) เรียกสั้นๆว่า “BJJ” เป็นศิลปะการต่อสู้สมัยใหม่ซึ่งมีลักษณะเด่นในการต่อสู้จับล็อกบนพื้น แต่ก็มีจุดเด่นทั้งการทุ่มและการควบคุมคู่ต่อสู้จากทางด้านบน จินตนาการง่ายๆ คือ คล้ายกับการเอากีฬายูโดมาผสมกับมวยปล้ำแล้วมีการฝึกท่าจับล็อกบนเพิ่มเข้าไป

วิชาบราซิลเลียนยิวยิตสูถือว่าเป็นพื้นฐานของกีฬาต่อสู้แบบผสม (Mixed Martial Arts เรียกสั้นๆ ว่า MMA คือกีฬาต่อสู้ที่เอาศิลปะการต่อสู้หลายๆอันมาผสมกัน โดยสู้กันโดยใช้เทคนิคอะไรก็ได้ขอเพียงให้ฝ่ายตรงข้ามยอมแพ้หรือสลบไป) ซึ่งจะพบว่านักสู้ที่มีชื่อเสียงอย่างในรายการ MMA ชื่อดัง UFC นั้นจะต้องผ่านการฝึกบราซิลเลียนยิวยิตสูมาแล้วทั้งสิ้น อาทิเช่น Nate Diaz, Anderson Silva, Jose Aldo

บราซิลเลียนยิวยิตสู คืออะไร?

บราซิลเลียนยิวยิตสู คือ ศิลปะการต่อสู้ที่เน้นในการจับล็อกโดยเกิดได้ทั้งจากยืนหรือมักจะพบเห็นที่ไปเล่นบนภาคพื้น โดยหลักของศิลปะการต่อสู้นี้คือการทำให้ลงศัตรูลงไปต่อสู้บน ground game โดยอาจจะทำให้อีกฝ่ายล้มโดยการทุ่ม หรือ การพาคู่ต่อสู้ลงไปเล่นposition guard ซึ่งเป็น position ที่มีเอกลักษณ์มากของบราซิลเลียนยิวยิตสูนี้ โดยจุดมุ่งหมายของการต่อสุ้คือพยายามทำ submission ให้อีกฝ่ายตบเบาะยอมแพ้โดยอาจจะมาจาก การรัดคอ, หักข้อต่อต่าง ๆ ในร่างกาย (หากไม่ยอมแพ้ก็คือตายหรือไม่ก็แขนขาหัก) ท่าที่มีชื่อเสียงก็คือ Triangle choke, Arm-bar, Guillotine, Omoplata และอีกมาก นอกจากจะทำให้ศัตรูยอมแพ้ด้วยการรัดคอหรือหักข้อต่อแล้วนั้น ก็มีการทำให้คู่ต่อสู้ไปอยู่ในตำแหน่งที่เสียเปรียบเรียกว่า sweep เช่น ทำให้ตัวเราไปขึ้นคล่อมตัวศัตรู หรือ ไปอยู่ข้างหลังเตรียมรัดคอศัตรู

โดยบราซิลเลียนยิวยิตสู นั้นแบ่งเป็นได้ 2 แบบ คือ

  1. Gi คือการใส่ชุดเล่น ซึ่งชุดกิโมโนที่ใส่นั้นจะมีลักษณะคล้ายชุดยูโด
  2. no-GI คือการเล่นแบบใส่ชุดอะไรเล่นก็ได้โดยอาจจะมีการเพิ่มกฎที่อันตรายเพิ่มขึ้นมา เช่นหักขา

นอกจากนี้ในบางยิมจะมีสอน self defense ในคลาสบราซิลเลียนยิวยิตสู ซึ่งในสมัยแรกๆ นั้น self defense นั้นตอนแรกถือว่าเป็นส่วนประกอบหลักของศิลปะการต่อสู้นี้ แต่หลังๆแต่ละที่ก็ได้สอนน้อยลง เนื่องจากมีโอกาสได้ใช้น้อย

ประวัติการคิดค้น

กำเนิดขึ้นโดยมีพื้นฐานมาจากวิชาโคโดกัน ยูโด และยิวยิตสูของญี่ปุ่น โดยถูกนำไปพัฒนาที่บราซิล โดยอดีตนักยูโดจากโรงฝึกโคโดกันชาวญี่ปุ่นชื่อ มิตซึโยะ มาเอดะ (Mitsuyo Maeda) ซึ่งเป็นนักยูโดอันดับต้น ๆ ของโคโดกันได้รับหน้าที่ให้เดินทางไปเผยแพร่ยูโดในต่างประเทศ โดยได้เดินทางออกจากญี่ปุ่นในปี 1904 โดยได้เดินทางไปเผยแพร่วิชายูโดในหลายประเทศและได้เดินทางเข้าไปในบราซิลในปี 1914

มาเอดะนั้นเป็นอดีตผู้ฝึกซูโม่ ที่เปลี่ยนตัวเองเข้ามาฝึกยูโด ซึ่งในตอนนั้นเพิ่งได้ถูกคิดค้นขึ้นมาใหม่โดย จิโกโร คาโน โดยในตอนนั้นวิชายังถูกเรียกว่า คาโนยิวยิตสู ซึ่งเป็นที่มาของการใช้ชื่อยิวยิตสู ในวิชาบราซิลเลียนยิวยิตสู แทนที่จะเป็นยูโด ก่อนเสียชีวิตมาเอดะได้รับสายดำในระดับเจ็ดของวิชายูโด

ในการสาธิตครั้งหนึ่งของมาเอดะนั้นได้พบกับคาร์ลอส กราซี (Carlos Gracie) ซึ่งในสมัยนั้นอายุได้เพียง 14 ปี คาร์ลอส ได้เข้าเป็นลูกศิษย์ของมาเอดะ และได้ฝึกยิวยิตสูจากมาเอดะในเวลานั้น ซึ่งภายหลังที่คาร์ลอสเติบโตขึ้นและย้ายไปอาศํยที่เมือง ริโด ดี จาเนโร ของบราซิล คาร์ลอสได้สอนวิชายิวยิตสูให้กับญาติๆ รวมทั้ง ฮิริโอ กราซี (Helio Gracie) ผู้ที่เป็นต้นกำเนิดของบราซิลเลียนยิวยิตสูในเวลาต่อมา เนื่องจากวิชานี้สืบทอดและพัฒนากันมาในหมู่ญาติของตระกูลกราซี (หรือที่รู้จักกันในชื่อ เกรซี) ทำให้ตอนนั้นจะถูกเรียกว่า เกรซียิวยิตสู

ปัจจุบันชื่อของเกรซียิวยิตสูได้กลายเป็นเครื่องหมายการค้าของตระกูลเกรซี ซึ่งจะหมายถึงยูยิสสูในรูปแบบของเขาเท่านั้น ทำให้มีการเปลี่ยนชื่อเรียกจากเกรซียิวยิตสู เป็นบราซิลเลียนยิวยิตสู

ในช่วงต้นนั้นกีฬาบราซิลเลียนยิวยิตสู นั้นสร้างชื่อตัวเองด้วยการไปท้าตีกับวิชาการต่อสู้อื่นตามสำนักต่าง ๆ ในบราซิล อาทิเช่น คาราเต้ ยูโด มวย รวมถึงท้าตีท้าต่อยกับนักเลงข้างถนนทั่วไปด้วย ซึ่งไม่มีศิลปะการต่อสู้ไหนเลยที่ชนะbrazilian jiujitsu ได้ หลังจากนั้นจึงเปิดให้คนทั่วไปที่สนใจอยากประลองวิชามาทดสอบได้เรียกกันว่า Gracie challenge ซึ่งหลังจากประกาศไปก็ได้มีคนเข้ามาท้าทายอย่างมากซึ่งหาคลิปดูได้ในยูทูบ อย่างเช่น นักคาราเต้ นักเลงข้างถนน นักเพาะกาย มวยจีนเส้าหลิน นักมวยปล้ำ ซึ่งศิลปะการต่อสู้เหล่านั้นเมื่อมาได้เจอบราซิลเลียนยิวยิตสู ก็แพ้อย่างราบคาบทั้งสิ้น

ต่อมาเมื่อศิลปะการต่อสู้บราซิลเลียนยิวยิตสู เริ่มดังในบราซิลขึ้น จึงได้มีการเชิญนักยูโดผู้เป็นศิษย์เอกของนักยูโดและยิวยิตสูชื่อดังที่ญี่ปุ่นนามว่า Kimura มาให้ทดสอบฝีมือสู้กับ Helio gracie ซึ่งผลก็คือศิษเอกของ Kimura โดนรัดคอสลบในเวลาไม่นาน ทางญี่ปุ่นจึงได้จัดส่ง Kimura มาที่บราซิลเพื่อมาเจอ Helio Gracie ซึ่งผลออกมาคือ Helio gracie แพ้เนืองจากโดนทุ่มและขนาดตัวที่เล็กกว่ามาก แต่ก็ถือเป็นจุดที่ทำให้โลกเริ่มรู้จักกีฬาบราซิลเลียนยิวยิตสูมากยิ่งขึ้น

ต่อมาตระกูลเกรซีจึงอยากหาผู้ทีมีความสามารถมาแข่งขันกับพวกตนจึงได้หานายทุนและจัดรายการ Ultimate fighting championship (หรือปัจจุบันคือ UFC) ขึ้น ซึ่งเป็นการให้นักศิลปะการต่อสุ้ต่างๆมาสู้กันในกฎ MMA คือซึ่งไม่ต้องใส่นวม ต่อยกันในกรง จะทำอะไรก็ได้เพียงให้อีกฝ่ายยอมแพ้หรือสลบไป ซึ่งก็มีนักศิลปะการต่อสู้มากมายเข้าร่วม ดังเช่นนักมวยสากล นักยูโดโอลิมปิก นักมวยปล้ำ นักชกข้างถนน ซึ่งแมตรอบสุดท้ายนั้น ผู้ชนะการต่อสู้ก็คือ Royce Gracie ที่สามารถชนะนักมวยปล้ำที่น้ำหนักมากกว่าตนหลายสิบโลได้ จึงทำให้ศิลปะการต่อสู้บราซิลเลียนยิวยิตสูโด่งดังและกระจายไปทั่วโลก

เสน่ห์ของกีฬา

เสน่ห์ของ BJJ อีกอย่างคือ ผู้เล่น จะใช้ความเข้าใจในสรีระสัดส่วนของร่างกาย เน้นการเคลื่อนไหวบนพื้น ใช้หลักคานดีดคานงัด เล่นกับการทรงตัวของคู่ต่อสู้ เพื่อนำมาซึ่งการล็อกที่สมบูรณ์แบบ อีกทั้งเวลาเล่นยังต้องเล่นไปคิดไป คล้ายกับการเล่นหมากรุกโดยใช้ร่างกายตัวเองเป็นหมากในการต่อสู้ ซึ่งจะทำให้ร่างกายมีความแข็งแรง และมีไหวพริบที่พร้อมจะรับมือกับสถานการณ์ป้องกันตัวแบบจริงจังมากที่สุด

BJJ ยังมีระบบการฝึกซ้อมที่ปลอดภัย เกิดการบาดเจ็บจากการฝึกซ้อมต่ำ (ยิมที่มีผู้ฝึกสอนตามมาตรฐาน BJJ) เวลาเข้าคู่ซ้อม (sparring) สามารถใช้แรงได้เต็มที่ แม้อายุมากแล้วก็ยังเล่นได้ หน่วยทหาร ตำรวจในต่างประเทศก็นิยมเรียนรู้ศาสตร์ชนิดนี้เนื่องจากประโยชน์ของมันนั่นเอง

ในแง่ของการป้องกันตัว หลายคนอาจจะมองว่าการลงไปปล้ำล็อกบนพื้น อาจจะทำให้เสียเปรียบคู่ต่อสู้จำนวนมาก ซึ่งนั่นก็ถูก เพราะถือเป็นจุดอ่อนของตัววิชา แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่าจะสถานการณ์ไหนในการป้องกันตัว ถ้ามีจำนวนน้อยกว่าก็ย่อมเสียเปรียบอยู่แล้ว ยังไม่รวมถึงการนำเครื่องทุ่นแรงต่าง ๆ มาใช้เป็นอาวุธ

นอกจากนั้นผู้ฝึกศิลปะการต่อสู้ส่วนใหญ่ก็มักจะเรียนรู้ การต่อสู้ในมิติต่างๆมากกว่าหนึ่งอย่างอยู่แล้ว แต่ถ้ามองถึงข้อดี กลับมีมากกว่าไม่ว่าจะเป็น การป้องกันตัวของสุภาพสตรี ในลักษณะโดนข่มขืน หรือผู้ชายตัวเล็กที่อยู่ในสถานการณ์คับขัน รวมถึงเจ้าหน้าที่ทหารตำรวจ ที่จำเป็นต้องควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยโดยให้อยู่ในสภาพบาดเจ็บน้อยที่สุด

ระดับสายในบราซิลเลียนยิวยิตสู

การสวมใส่ชุดฝึกยังเป็นการสืบสานระบบวัฒนธรรม ในแบบญี่ปุ่น ซึ่งแสดงออกถึงระเบียบวินัย ความมีระเบียบแบบแผน และแสดงถึงวิทยฐานะ ในระดับต่างๆ โดยมีการแบ่งตามสีของสายคาดเอว โดยอ้างอิงจาก IBJJF (international Brazilian Jiu-Jitsu Federation)

ซึ่งจะแบ่งตามสีเรียงจากระดับต่ำไปสูงคือ ขาว ฟ้า ม่วง น้ำตาล และ ดำ ในระดับผู้ใหญ่ และ ขาว เทา เหลือง ส้ม เขียว ในระดับเด็ก นอกจากนั้นยังมีแถบสีดำ อยู่ตรงปลายสาย เพื่อระบุระดับขั้นของแต่ละสีด้วย ซึ่งแต่ละระดับนั้นต้องใช้เวลาในการฝึกซ้อมไม่ต่ำกว่า 2 ปี ในการเลื่อนระดับ ดังนั้นกว่าจะได้สายดำในกีฬานี้จึงใช้เวลาอย่างน้อย 8 ปี

ส่วนในระดับผู้สอน ก็จะมีแถบสีแดงอยู่ตรงปลายสาย ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของกีฬา BJJ สำนักต่างๆ ยังนิยมใช้สายดำปลายแดงนี้ มาเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกด้วยว่า ยิมนี้สอนบราซิลเลียนยิวยิตสู

เหตุผล 5 ข้อว่าทำไมควรสนับสนุนให้ลูกเรียนบราซิลเลียนยิวยิตสู

ถ้าคุณกำลังถามตัวเองว่า “บราซิลเลียนยิวยิตสู” หรือที่เรียกกันย่อๆ ว่า “BJJ” เป็นศิลปะการต่อสู้ที่ดีสำหรับลูกชายหรือลูกสาวของคุณหรือเปล่า ก็ไม่ต้องสงสัยเลย เพราะคำตอบของคำถามนั้นคือ “ใช่”

เมื่อลูกๆ ฝึกฝน BJJ ซึ่งเป็นศิลปะการต่อสู้อันอ่อนโยน (the gentle art) จะได้รับประโยชน์ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ และนี่เป็นเพียงเหตุผลเบื้องต้น 5 ข้อจากหลากหลายเหตุผล ว่าทำไมคุณควรส่งลูกไปเรียนศิลปะการต่อสู้แขนงนี้

1. BJJ ช่วยสอนให้เด็กรับมือกับการถูกรังแก

น่าเสียดายที่ปัญหาการบูลลี หรือกลั่นแกล้งรังแก ยังไม่หมดสิ้นไปจากสังคม ดังนั้นไม่ใช่เรื่องเสียหายที่ลูกชายหรือลูกสาวของคุณควรมีทักษะในการป้องกันตัวติดตัวไว้

BJJ ให้ความสำคัญกับการป้องกันตัวเองบนพื้น โดยมุ่งเน้นไปที่เทคนิคและศาสตร์การจับล็อก แทนที่จะให้ความสำคัญเรื่องพละกำลังและความแข็งแกร่งเพียงอย่างเดียว

มันจึงเป็นวิธีที่ชาญฉลาดในการรับมือของพวกขี้แกล้ง แม้จะต้องเจอกับเด็กตัวใหญ่กว่า ลูกของคุณก็จะรู้วิธีการจัดการได้ โดยไม่ทำให้เกิดการอันตราย และไม่ใช่วิธีการต่อยตี

หากเขาสามารถใช้ BJJ เพื่อป้องกันตัวเองได้ เขาจะยิ่งมีความมั่นใจและนับถือตัวเองมากขึ้น ส่วนพวกเด็กขี้แกล้งก็จะไม่อยากมาวุ่นวายกับลูกคุณอีก

2. BJJ สอนให้เด็กเรียนรู้จากความล้มเหลว

บราซิลเลียนยิวยิตสู แตกต่างจากการฝึกศิลปะการต่อสู้รูปแบบอื่นๆ ลูกของคุณจะฝึกฝนทักษะนี้กับคู่ซ้อมที่คอยแต่ขัดขืนอยู่ตลอดเวลา 

เมื่อเริ่มฝึกแรกๆ พวกเขาอาจพบกับความล้มเหลว ที่ไม่สามารถจับล็อกคู่ซ้อมของเขาได้ แต่ไม่เป็นไรทุกคนก็เคยผ่านจุดนี้ด้วยกันทั้งนั้น แม้แต่นัก BJJ ชั่วโมงบินสูงที่ได้สายดำ พวกเขาก็พบกับความล้มเหลวมาก่อน

เด็กบางคนอาจไม่สามารถยอมรับความพ่ายแพ้หรือผิดหวัง แต่พวกเขาจะค่อยๆ เรียนรู้ความผิดพลาด และการไม่ยอมแพ้ รวมถึงการให้โอกาสตัวเองได้พัฒนาทักษะให้ดีขึ้น ท่ามกลางการให้กำลังใจของครูฝึก และเพื่อนๆ ที่คอยสนับสนุนกันและกัน

การพัฒนาความคิด อารมณ์ และทัศนคติอย่างถูกต้องและค่อยเป็นค่อยไป จะส่งผลต่อการใช้ชีวิตในอนาคตของลูกๆ ด้วย

3. BJJ ช่วยให้เด็กเข้าสังคมเป็น

BJJ เป็นกิจกรรมสันทนาการที่ดี ที่จะช่วยให้ลูกรู้จักการเข้าสังคมกับเด็กๆ ที่เขาอาจไม่มีโอกาสได้เจอกันในสถานการณ์อื่น

ความหลากหลายในชั้นเรียน เป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะสำหรับลูกๆ ที่จะเรียนรู้ความแตกต่างเกี่ยวกับ เชื้อชาติ วัฒนธรรม ศาสนา ภาษา และเมื่อเขารู้จักวิธีการเข้าสังคมเด็ก เขาจะพัฒนาความเชื่อมั่น พร้อมกับสร้างความผูกพันที่แน่นแฟ้นกับเพื่อนร่วมทีมมากขึ้นเรื่อยๆ

4 BJJ ช่วยพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวทางร่างกาย

บราซิลเลียนยิวยิตสู เป็นกีฬาที่ใช้การเคลื่อนไหวอย่างเป็นลำดับขั้น ลูกของคุณจึงได้รับการพัฒนาทักษะด้านการเคลื่อนไหวทางร่างกาย เพื่อแก้ไขปัญหา ด้วยประสาทสัมผัสที่เป็นระบบกับอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย

การฝึกซ้ำๆ บ่อยๆ จะช่วยให้กล้ามเนื้อจดจำการเคลื่อนไหว จนกลายเป็นอัตโนมัติ ซึ่งจะทำให้ลูกๆ ควบคุมร่างกายตัวเองได้ดีขึ้น และเกิดความแม่นยำใช้การใช้เทคนิคต่างๆ

เด็กๆ ที่เข้าใจว่าแขนขาของพวกเขาเคลื่อนไหวอย่างไร จะสามารถพัฒนาการเคลื่อนไหวร่วมกับเทคนิคต่างๆ ได้อย่างลงตัวและมีความยืดหยุ่นมากขึ้น

5. BJJ ช่วยปลูกฝังนิสัยการใช้ชีวิตที่มีสุขภาพดี

บราซิลเลียนยิวยิตสูเน้นความสำคัญของการออกกำลังกายและสามารถปลูกฝังนิสัยเชิงบวกให้แก่ลูกๆ ของคุณตั้งแต่อายุยังน้อย ด้วยการมีส่วนร่วมในศิลปะการต่อสู้ที่กระตุ้นทั้งร่างกายและสติปัญญา

แทนที่เขาจะมีไลฟ์สไตล์ที่วันๆ เอาแต่ดูโทรทัศน์หรือเล่นวิดีโอเกม เขาจะได้ออกกำลัง พร้อมกับฝึกทักษะการป้องกันตัว โดยมีการใช้กล้ามเนื้อ, ความยืดหยุ่น, ความคล่องตัว และความอดทน อันเป็นองค์ประกอบที่จำเป็นต่อความสำเร็จใน BJJ

บทความและข่าวสารอื่นๆ

ไทฟูโด (Taifudo Academy) โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ
ไอคิโด (Aikido) คืออะไร?
"ไอกิโด" เขียนคำ "คิ" ในแบบตัวอักษรดั้งเดิม
ไทฟูโด (Taifudo Academy) โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ
มวยไชยา (Muay Chaiya)
มวยไชยา เป็นศิลปะมวยไทยประจำถิ่นอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีชื่อเสียงมากสมัยรัชกาลที่ 5 – ...
ไทฟูโด (Taifudo Academy) โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ
มวยไทย (Muay thai)
มวยไทย เป็นศิลปะการต่อสู้ของประเทศไทย มีความโดดเด่นด้านเทคนิคการกอดคอต่อสู้ ซึ่งเป็นการใช้ทั้งกายและ...
ไทฟูโด (Taifudo Academy) โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ
คาราเต้ (Karate) ศิลปะผสมผสานเสริมร่างกายผนึกจิตใจ
คาราเต้ (ญี่ปุ่น: 空手; โรมาจิ: karate; ทับศัพท์: คะระเตะ) หรือ คาราเต้โด (ญี่ปุ่น: 空手道; โรมาจิ: karat...
ไทฟูโด (Taifudo Academy) โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ
ศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสาน (MMA) คืออะไร? 
ศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสาน หรือ Mixed Martial Arts (MMA) เป็นกีฬาการต่อสู้ที่มีความเคลื่อนไหวและน่าสนใ...
ไทฟูโด (Taifudo Academy) โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ
ยูโด (Judo) คืออะไร?
ยูโด (ญี่ปุ่น: 柔道; โรมาจิ: jūdō จูโด) เป็นกีฬาและศิลปะการต่อสู้ที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น มีต้นกำเนิ...
Before you continue to use Taifudo Academy
We use required cookies for site navigation, purchasing, improving your browsing experience to:
  • Provide you with services described on the Sites, general administrative and performance functions, and support services;
  • Operate the Sites and verify your identity when you sign in to any of our Sites;
  • Inform you about company news and give updates on our services;
  • Carry out technical analysis to determine how to improve the Sites and services we provide;
  • Track outages and protect against spam and fraud.
If you choose to “Accept all,” we will also use cookies and data to:
  • Improve site performance;
  • Deliver and measure the effectiveness of ads;
  • Show personalized content and ads, depending on your settings.
You can always change your browser settings and other ways to reject cookies. To learn more, please visit www.allaboutcookies.org.