ประวัติอาจารย์ชีวิน อัจฉริยะฉาย (Chiwin Atchariyachay)

ประวัติอาจารย์ชีวิน อัจฉริยะฉาย (Chiwin Atchariyachay)
ไทฟูโด (Taifudo Academy) โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ

ผม (อาจารย์ชีวิน อัจฉริยะฉาย) หลงใหลในการฝึกฝน ผมดำเนินชีวิตบนเส้นทางการฝึกมวยแข็งต่างๆ อย่างหนักแบบทำลายสุขภาพ แม้ประสบอุบัติเหตุล้มมอเตอร์ไซค์จนบาดเจ็บก็ฝืนทนฝึกจนร่างกายทรุดโทรม ในวัย 24 ปี ผมกลับมีอาการบาดเจ็บเรื้อรังมีสภาพกึ่งคนพิการไม่สามารถฝึกมวยได้เหมือนเดิม ความฟิตในวัยหนุ่มอยู่กับเราไม่นาน ความเก่งจากการฝึกมวยแบบทุ่มเทอย่างหนักมีของแถมเป็นอาการบาดเจ็บเรื้อรังที่ติดตัวเราไปตลอด เก่งแต่เดี้ยงไม่มีประโยชน์ ผมผ่านวิกฤตที่เกือบพิการตลอดชีวิตมาได้และยังโชคดีที่สามารถกลับมาเล่นมวยได้อีก ผมจึงขอเอาตัวเองเป็นห้องสมุดรวบรวม ฝึกฝน ค้นคว้าศาสตร์การต่อสู้ป้องกันตัวต่างๆ พัฒนาจัดระบบการฝึกฝนเป็นศาสตร์ที่เรียกว่า “ศิลปะป้องกันตัวไทฟูโด” ไว้ให้คนรุ่นหลังได้ฝึกการป้องตัวได้ง่ายและปลอดภัยขึ้น “ผมไม่อยากให้คุณเจ็บเหมือนที่ผมเคยเจ็บ”

ไทฟูโด ฝึกการเคลื่อนตัว, การหลบหลีก, การปัดป้อง,การตอบโต้, ควบคู่กับการฝึกการโล้ตัวล้มตัว เพื่อเข้าฝึกท่าวิธีแก้ไขท่าการโจมตี, ตั้งแต่ท่ายืนพื้น, การควบคุม, การหักข้อต่อ, การทุ่ม, การควบคุมเมื่อล้มลงพื้น, เข้าปล้ำบนพื้น, จากนั้นฝึกการออกอวัยวุธที่ร่างกายสามารถใช้ตอบโต้กลับได้, และจึงค่อยฝึกการเข้าโจมตี จู่โจม ในระดับต่อไป, แล้วก็ทำวน เวียน ทำซ้ำ จนชำนาญ และพลิกแพลง ท่าทาง ได้อย่างคล่องแคล่ว ฉับพลัน

ไทฟูโดเป็นศิลปะเพื่อพัฒนาปรับปรุงแก้ไขและส่งเสริมระหว่างศิลปะด้วยกัน ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวทุกชนิดย่อมนำไปใช้ในการป้องกันตัวและการนำไปใช้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของบุคคลที่ได้ฝึกฝนไปเรากำหนดไม่ได้ว่าศิลปะการต่อสู้บนตัวฝึกฝนไว้เพื่อความรัก (เปลี่ยนศัตรูให้กลายเป็นมิตร) เพราะจะมีศัตรูที่ทำร้ายเรากี่คนที่จะเปลี่ยนมารักเรา คนโบราณมักจะกล่าวถึงความ “อดทน” แต่ในปัจจุบันนี้ความอดทนก็คือคนที่ถูกรังแก คนที่ไม่มีโอกาสต่อรองอะไรกับใครได้ ถูกเอารัดเอาเปรียบในทุกๆด้านซึ่งอาจจะเปลี่ยนแปลงความอดทนให้มีขอบเขตของความอดกลั้นดังที่ว่า “ทนได้ก็ให้อดทน ทนไม่ได้ก็ไม่ต้องทน” แต่ให้เราหันมามีสติกันดีกว่าว่าการกระทำใดหากเกิดความเดือดร้อนต่อตนเองและผู้อื่นแล้วก็ไม่ควรจะกระทำ

อาจารย์ชีวิน อัจฉริยะฉาย ผู้ก่อตั้งโรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ

ประวัติส่วนตัว

  • อาจารย์ชีวิน อัจฉริยะฉาย เกิดเมื่อ วันที่ 10 พฤษภาคม 2513 ภูมิลำเนา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

สถานที่ทำงาน

โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

ตำแหน่งงาน

  • ผู้ฝึกสอนศิลปะการป้องกันตัวไทฟูโด ระดับขั้นสายดำดั้ง 5
  • ผู้ฝึกสอนหลักสูตรบอดี้การ์ด และการยิงปืนสั้นระบบ Tactical Handguns, Tactical Firearms
  • ผู้ฝึกสอนมวยไทยหัตถยุทธ์
  • ผู้ฝึกสอนไท่เก๊ก (ผู้สืบทอดไท่เก๊กตระกูลหยาง รุ่นที่ 7)
  • ผู้ฝึกสอนวิทยายุทธจีน ผู้สืบทอดมวยหวิงชุน สายยิปกิ่น ประเทศมาเลเซีย (Yip Kin Wing Chun)
  • ผู้สืบสายมวยอี้ลิฉวน (I Liq Chuan) คนแรกในประเทศไทย ของสถาบัน Wu Ji I Liq Chuan Academy ประเทศมาเลเซีย
  • ผู้ฝึกสอนหลักสูตรอาวุธ มีดสั้น, ไม้พลอง, ดาบไทย, ดาบซามูไร ฯลฯ
  • เจ้าหน้าที่อาสาสมัคร รักษาดินแดน อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
  • สมาชิกสันนิบาตเสรีชนแห่งประเทศไทย

ตำแหน่งทางบริหาร

ประวัติการศึกษา

มัธยมต้น

  • โรงเรียนแสงทองวิทยา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา (2524-2526)

มัธยมปลาย

อุดมศึกษา

  • มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สาขาบริหารธุรกิจ (2530)
  • มหาวิทยาลัยพายัพ เชียงใหม่ สาขา Hotel and Tourism Management (2531-2535)
  • อบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ลูกเสือสวัสดิภาพนักเรียนจากกองบัญชาการตำรวจภูธร 4 พ.ศ.2527
  • อบรมหลักสูตรลูกเสือสังคมสงเคราะห์ จากคณะลูกเสือแห่งชาติ พ.ศ.2528
  • อบรมหลักสูตรทักษะการใช้อาวุธปืน ชมรมกีฬายิงปืน ร.1 รอ. พ.ศ.2541
  • อบรมหลักสูตรผู้ฝึกสอนมวยไทยสมัครเล่นแห่ง ประเทศไทย พ.ศ.2544
  • อบรมหลักสูตรกรรมการผู้ตัดสิน โดยสมาคมวูซูแห่งประเทศไทย พ.ศ.2547
  • อบรมหลักสูตรเชิงปฏิบัติการกรรมการผู้ตัดสินโดยสมาคมวูซูแห่งประเทศไทย พ.ศ.2549
  • ผ่านการฝึกมวยจีนกังฟูระดับ 3 ดาว Thailand Chin Woo พ.ศ.2548
  • อบรมจาก International Detective Development Center พ.ศ.2551
    หลักสูตร
    • 1. Advanded Bodyguard
    • 2. Protective Shooting
    • 3. IDDC Self–Defense
  • ฝึกคาราเต้ สำนักSeibukan Karate ประเทศมาเลเซีย ได้รับสายดำดั้ง 5 กิตติมศักดิ์จาก International Okinawan Shorin-Ryu Seibukan Karate Do Association ประเทศมาเลเซีย พ.ศ.2552
  • อบรมสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน อ.หาดใหญ่ ประเภทสำรอง พ.ศ.2552
tfd 556 Website Taifudo Academy

การศึกษาด้านวรยุทธ

ปี พ.ศ.2528 :

  • ฝึกฝนวิชายูโดและมวยสากล ที่สนามจิระนคร อ.หาดใหญ่ ฝึกกับครูจบเอกพละศึกษา จากวิทยาลัยครูการพละศึกษา วิทยาเขตยะลา

ปี พ.ศ.2530 :

  • ฝึกฝนวิชาคาราเต้ (ชมรมคาราเต้ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย)
  • ฝึกฝนวิชาเทควันโด จากอาจารย์กฤช วรธำรงค์
  • ฝึกฝนมวยไทยไชยา จากครูทองหล่อ ยาและ (ครูทอง เชื้อไชยา)

ปี พ.ศ.2532 – พ.ศ.2534 :

  • ฝึกฝนมวยจีนที่สำนักลิ่วเหอจากอาจารย์น้อยซึ่งเป็นรุ่นที่ 2 ในประเทศไทย(ผมเป็นรุ่นที่ 3)
  • ฝึกฝนมวยจีนที่สำนักมังกรธิเบต จากอาจารย์โจ เหล่าวาง
  • ฝึกฝนวันฮวาโดไซเคิลของเกาหลีเหนือ จากอาจารย์เอ็ดเวิร์ด (ชาวฟิลิปปินส์)
  • เรียนวิชามวยจากอาจารย์เย่ซู่ไฉ่หัวหน้าเผ่ามูเซอดำ อำเภอปางไม้แดง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
  • ผู้สืบทอดวิชาไท่เก๊กตระกูลหยางในประเทศไทย จากอาจารย์ประมวล ภูมิอมร (อาจารย์โคว จุน ฮุย)
  • ฝึกฝนวิชาหมัดตั๊กแตนใต้ จากอาจารย์ประมวล ภูมิอมร (อาจารย์โคว จุน ฮุย)
  • ฝึกฝนวิถีการชักดาบซามูไรจากอาจารย์ Masataka Ozaki ที่ญี่ปุ่น
  • เรียนวิชาการนวดเท้า (Foot Reflexology) ที่จ.ภูเก็ต จากอาจารย์ชงหมิงซิ่ง ชาวมาเลเซีย (ผมเป็นศิษย์คนที่ 5)

ปี พ.ศ.2535 – พ.ศ.2536 :

  • ฝึกฝนวิชาไท่เก๊กเพิ่มเติม และเรียนวิชาจัดกระดูกกดจุดลมปราณและนวดจากอาจารย์ประมวล ภูมิอมร (อาจารย์โคว จุน ฮุย)

ปี พ.ศ.2537 – พ.ศ.2539 :

  • ฝึกฝนวิชาไอคิโด จากชมรมไอคิโด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยอาจารย์สมบัติ อาจารย์ธีรรัตน์ และอาจารย์เฮนรี่
  • ฝึกฝนวิชาหมัดหย่งชุนจาก Mr. Alexander (ศิษย์ของอาจารย์เหลี่ยงถิง)
  • ฝึกฝนบราซิลเลี่ยน ยิวยิตสูจาก Mr. Alexander (ศิษย์ของอาจารย์เกรสซี่ รอย)
  • ฝึกฝนวิชามวยเจิงล้านนากับพ่อครูคำสุข ช่างสาร
  • ฝึกฝนวิชามวยโคราชจากครูอำนาจ พุกศรีสุข (พลตรีอำนาจ พุกศรีสุข)

ปี พ.ศ.2544 – พ.ศ.2548 :

  • ฝึกฝนวิชาดาบจีนคู่ซวงตาว (สมาคมจิงอู่ มาเลเซีย)
  • ฝึกฝนวิชาหมัดตั๊กแตน 7 ดาวชุดถางหลางปั้นโป่วจากอาจารย์ Jack Tan (สมาคมจิงอู่ สิงคโปร์)
  • ฝึกฝนวิชาสือซานผะจากอาจารย์ Tommy Lim (สมาคมจิงอู่ สิงคโปร์)
  • ฝึกวิชาหมัดสกุลหง ชุดสือจื้อเหมยฮวาจากอาจารย์ Yap Giok Leong (สมาคมจิงอู่ สิงคโปร์)
  • ฝึกวิชาหมัดเมาจิ่วฉวน, วิชาดาบจีนคู่ซวงเตา วิชาเหน่ยฉวน, ซื่อต้าจั้นและปิงชุงเจี้ยนจากอาจารย์ Leow De Nan (สมาคมจิงอู่สิงคโปร์)
  • ได้รับการแนะนำเพิ่มเติมวิชาหมัดหย่งชุน สายอาจารย์หยิปมัน,หมัดสกุลหงชุดหมัดพยัคฆ์กระเรียน และวิชาหมัดตั๊กแตนใต้ (จูแกก่า) ชุดซานปู่ฉิน จากอาจารย์ Lum Wing Kit เขตปกครองพิเศษฮ่องกง ได้รับการแนะนำเพิ่มเติมในวิชาหมัดตั๊กแตนเหนือ (เป่ยถางหลางฉวน) จากอาจารย์เหยียน หมั่นไค เขตปกครองพิเศษฮ่องกง
  • ฝึกฝนวิชามวยซินอี้ลิ่วเหอฉวน, แส้ฝ่อเสิน, สือปู้ฉวน และอู่ปู้ฉวน จากอาจารย์โจวซู่วเหวิน ซึ่งมาถ่ายทอดให้ที่โรงเรียนศิลปศาสตร์ไทยหัตถยุทธ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ปี พ.ศ.2549 :

  • ได้มีการแลกเปลี่ยนวิชาการใช้อาวุธมีดสั้นกับดาบสำนักดาบศรีอยุธยากับอาจารย์สิทธิพร ทรงสัตย์
    (พี่เปี๊ยก) ลูกศิษย์ของอาจารย์อารีย์ บุญห่วง สำนักดาบศรีอยุธยา

ปี พ.ศ.2551 :

  • ได้รับการสืบทอดวิชาหมัดหวิงชุน (หวิงชุนฮุงกา) สายอาจารย์ยิปกิ่นจากอาจารย์ Yip Fook Choy จาก ประเทศมาเลเซีย (ผู้สืบทอดคนแรกและคนเดียวในประเทศไทย)

ปี พ.ศ.2552 :

  • ฝึกคาราเต้ สำนัก Seibukan Karate ประเทศมาเลเซีย ได้รับสายดำดั้ง 5 กิตติมศักดิ์
    จาก International Okinawan Shorin-Ryu Seibukan Karate Do Association ประเทศมาเลเซีย

ปี พ.ศ.2562 :

  • ฝึกมวยอี้ลี่ฉวน I Liq Chuan (คนแรกในประเทศไทย)
    ของสถาบัน Jimmy Heow I Liq Chuan Academy ประเทศมาเลเซีย

ประวัติการทำงาน

ปี พ.ศ.2535 – พ.ศ.2547 :

  • โรงแรมกะตะบีชรีสอร์ท (ในเครือ Kata Group) จ.ภูเก็ต
  • โรงแรม Leo Palace Hotel Suwaken Nagoya ประเทศญี่ปุ่น
  • ผู้ฝึกสอนศิลปะป้องกันตัวไทฟูโดสถาบันการศึกษารัฐและเอกชน
  • วิทยากรด้านศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวแก่หน่วยงานรัฐและเอกชน

ปี พ.ศ.2551 – พ.ศ.2562 :

  • ร่วมแสดงภาพยนตร์เรื่อง องค์บากภาค 2 และ 3
  • ที่ปรึกษาด้านศิลปะการต่อสู้ภาพยนตร์เรื่ององค์บาก ภาค 2 และ 3
  • ของบริษัท ไอยราฟิล์ม ในเครือบริษัท สหมงคลฟิล์มฯ
  • ร่วมแสดงภาพยนตร์ เรื่อง วัยรุ่นพันล้าน
  • ร่วมแสดงซีรี่ส์ ฮอร์โมนส์ วัยว้าวุ่น Season 1 และ 2 (รับบท พ่อไผ่)
  • ร่วมแสดงภาพยนตร์เรื่อง “ปล่อย” The True Way To Life ภาพยนตร์สั้นความยาว 30 นาที
  • อารักขา นักร้อง นักแสดง เช่น จา พนม ยีรัมย์, มาโกโตะ ชินากะ นักร้องชาวญี่ปุ่น,
  • เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย (เหตุเฉพาะกิจ), อั้ม พัชราภา ไชยเชื้อ, พลอย เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์
  • อารักขานักการเมือง,นายอำเภอ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เช่น ท่านอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ขณะดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี ท่านลงมาเป็นประธานพิธีเปิดมัสยิดกลางสงขลา), ท่านถาวร เสนเนียม
  • วิทยากรให้กับชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) จ.ปัตตานี
  • วิทยากรให้กับเจ้าหน้าที่ด้านงานรักษาความปลอดภัยของบริษัทเซฟตี้การ์ด
  • วิทยากรยุวชนทหารโรงเรียนหาดใหญ่สมบูรณ์กุลกัลยา จ.สงขลา
  • วิทยากรให้กับตำรวจชุมชนเขต 2 อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
  • วิทยากรให้กับทหารพราน ค่ายปักธงชัย จ.นครราชสีมา
  • วิทยากรอบรมการป้องกันตัว ในโครงการอบรมพัฒนาคุณภาพชีวิตศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรี ภาคใต้ จ.สงขลา
  • วิทยากรอบรมการป้องกันตัวข้าราชการกองพันทหารอากาศโยธิน กองบิน 56 อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา
  • วิทยากรด้านการป้องกันตัวให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพฯ
  • วิทยากรให้กับยุวชนทหารโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย
  • วิทยากรอบรมการป้องกันตัวพนักงานบริษัท ทีเอ็นเอส รีเสิร์ช อินเตอร์เนชั่นแนล (ไทยแลนด์) จำกัด เขตบางรัก กรุงเทพฯ
  • ที่ปรึกษาด้านความปลอดภัย โรงแรมลีการ์เดนส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
  • วิทยากรอบรมการป้องกันตัวพนักงาน บริษัทโชติวัฒน์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
  • วิทยากรอบรมการป้องกันตัวให้กับพนักงานรักษาความปลอดภัย ในส่วนคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • วิทยากรอบรมป้องกันตัวไทฟูโดแก่ประชาชน ของเทศบาลนครหาดใหญ่
  • วิทยากรอบรมการป้องกันตัวข้าราชการ สำนักอธิการบดีผู้พิพากษาภาค 9

ปี พ.ศ.2548 ถึง ปัจจุบัน

  • ผู้ก่อตั้งโรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ (รับรองหลักสูตรโดยกระทรวงศึกษาธิการ)
  • ผู้ก่อตั้งบริษัทพลพยัคฆ์ซีคิวริตี้แอนด์บอดี้การ์ด จำกัด
  • ที่ปรึกษาด้านศิลปะป้องกันตัวและออกแบบคิวบู๊ภาพยนตร์บริษัทไอยราฟิล์ม
  • วิทยากรประจำชมรมศิลปะป้องกันตัว มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • วิทยากรให้กับนักศึกษาคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • วิทยากรให้กับนักศึกษา ภาควิชากายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ผู้ฝึกสอนศิลปะการป้องกันตัวไทฟูโด ระดับขั้นสายดำดั้ง 5
  • ผู้ฝึกสอนหลักสูตรบอดี้การ์ด และการยิงปืนสั้นระบบ Tactical Handguns, Tactical Firearms
  • ผู้ฝึกสอนมวยไทยหัตถยุทธ์
  • ผู้ฝึกสอนศาสตร์พลพยัคฆ์
  • ผู้ฝึกสอนไท่เก๊ก (ผู้สืบทอดไท่เก๊กตระกูลหยางรุ่นที่ 7)
  • ผู้ฝึกสอนวิทยายุทธจีน ผู้สืบทอดมวยหวิงชุน สายยิปกิ่น ประเทศมาเลเซีย (Yip Kin Wing Chun)
  • ผู้สืบสายมวยอี้ลิฉวน (I Liq Chuan) คนแรกในประเทศไทย ของสถาบัน Wu Ji I Liq Chuan Academy ประเทศมาเลเซีย
  • ผู้ฝึกสอนหลักสูตรอาวุธมีดสั้น, ไม้พลอง, ดาบไทย, ดาบซามูไร ฯลฯ
  • ผู้ก่อตั้งกลุ่ม Thailand Xin Wu

บทความและข่าวสารอื่นๆ

ไทฟูโด (Taifudo Academy) โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ
ไอคิโด (Aikido) คืออะไร?
"ไอกิโด" เขียนคำ "คิ" ในแบบตัวอักษรดั้งเดิม
ไทฟูโด (Taifudo Academy) โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ
มวยไชยา (Muay Chaiya)
มวยไชยา เป็นศิลปะมวยไทยประจำถิ่นอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีชื่อเสียงมากสมัยรัชกาลที่ 5 – ...
ไทฟูโด (Taifudo Academy) โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ
มวยไทย (Muay thai)
มวยไทย เป็นศิลปะการต่อสู้ของประเทศไทย มีความโดดเด่นด้านเทคนิคการกอดคอต่อสู้ ซึ่งเป็นการใช้ทั้งกายและ...
ไทฟูโด (Taifudo Academy) โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ
คาราเต้ (Karate) ศิลปะผสมผสานเสริมร่างกายผนึกจิตใจ
คาราเต้ (ญี่ปุ่น: 空手; โรมาจิ: karate; ทับศัพท์: คะระเตะ) หรือ คาราเต้โด (ญี่ปุ่น: 空手道; โรมาจิ: karat...
ไทฟูโด (Taifudo Academy) โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ
ศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสาน (MMA) คืออะไร? 
ศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสาน หรือ Mixed Martial Arts (MMA) เป็นกีฬาการต่อสู้ที่มีความเคลื่อนไหวและน่าสนใ...
ไทฟูโด (Taifudo Academy) โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ
ยูโด (Judo) คืออะไร?
ยูโด (ญี่ปุ่น: 柔道; โรมาจิ: jūdō จูโด) เป็นกีฬาและศิลปะการต่อสู้ที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น มีต้นกำเนิ...
Before you continue to use Taifudo Academy
We use required cookies for site navigation, purchasing, improving your browsing experience to:
  • Provide you with services described on the Sites, general administrative and performance functions, and support services;
  • Operate the Sites and verify your identity when you sign in to any of our Sites;
  • Inform you about company news and give updates on our services;
  • Carry out technical analysis to determine how to improve the Sites and services we provide;
  • Track outages and protect against spam and fraud.
If you choose to “Accept all,” we will also use cookies and data to:
  • Improve site performance;
  • Deliver and measure the effectiveness of ads;
  • Show personalized content and ads, depending on your settings.
You can always change your browser settings and other ways to reject cookies. To learn more, please visit www.allaboutcookies.org.