การใช้ตะกรุด ดาบ มีด คุมทัพบริวาร

การใช้ตะกรุด ดาบ มีด คุมทัพบริวาร
ไทฟูโด (Taifudo Academy) โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ

ในการใช้คุมทัพ ผู้เป็นแม่ทัพ ให้นั่งอยู่ในที่ตั้ง แล้วให้ระลึกถึงบริวารของเราว่ามีกี่คน ก็ให้นึกถึง ยิ่งมองเห็นใบหน้ายิ่งดี หรือนึกถึงสถานที่ที่เราตั้งทัพอยู่ แล้วท่องพระคาถามงกุฎพระพุทธเจ้าไปเรื่อยๆ แล้วนึกถึงบริวาร ตลอดจนพื้นที่ที่ตั้งทัพของเรา แล้วตั้งจิตเดินทักษิณาวัตร รอบพื้นที่ที่เราต้องการ ก็จะคุมพื้นที่ได้ทั้งหมด

วิธีทำทรายเสก

นำทรายละเอียดที่ต้องการมาเตรียมไว้ นำมาล้างด้วยนํ้าสะอาด จากนั้นตากแดดให้แห้ง แล้วนำทรายที่ทำความสะอาดแล้ว แช่ในนํ้าพระพุทธมนต์ จากนั้นให้นำทรายที่แช่ในนํ้าพระพุทธมนต์ขึ้นมาตากแดดให้แห้งอีกครั้ง เมื่อแห้งดีแล้วก็นำมาเสกอีกครั้ง ไว้ใช้เสกหว่านพื้นที่ที่เป็นอาถรรพ์

วิธีทำข้าวสารเสก

เตรียมข้าวสารที่ต้องการ หาภาชนะที่เป็นสี่เหลี่ยม กลวง นำข้าวสารใส่ลงไปก่อนสักเล็กน้อย จากนั้นนำตะกรุดที่แช่นํ้าพระพุทธมนต์ นำมาวางไว้ทั้งสี่มุม หรือ ห้ามุม ตรงกลางเป็น เก้า จากนั้นโยงสายสิญจน์ เข้ากับตะกรุดทั้งหมด แล้วโยงขึ้นมา นำข้าวสารที่เหลือที่เตรียมไว้ ใส่จนเต็มกล่อง จากนั้นจุดธูปอาราธนาพระรัตนตรัย จะวางดาบหรือมีดด้วยก็ได้ และใช้พระคาถาที่มีบริกรรมไปเรื่อยๆจนเป็นที่พอใจ ส่วนตะกรุดที่เปียกนํ้าพระพุทธมนต์ ข้าวสารจะดูดเอาความชื้นออกไปอยู่ในข้าวสารเอง แล้วนำมาตากแดด ให้แห้งอีกครั้ง จากนั้นบรรจุภาชนะนำมาสวดอยู่บ่อยๆจะยิ่งดี หรือจะใช้ข้าวสารที่อยู่ในกระถางธูป หรือทรายหรือผงธูปที่ไหว้พระก็ได้

บทคาถาเสกสายสิญจน์ ทราย ข้าวสาร

นะโม 3 จบ
พุทธธัง กันตัง ธัมมัง กันตัง สังฆัง กันตัง
กันหะ เนหะ เนหะ กันหะ สัตตะ กัณหะ
พุทธังรักษา ธัมมังรักษา สังฆังรักษา 108 จบ
เสกแล้วจึงเอาทรายข้าวสาร ซัดบริเวณรอบๆก่อนแล้วจึงขึงสายสิญจน์วนให้รอบ
เวลาวนสายสิญจน์ให้บริกรรมว่า
พุทโธ อัมหากัง สัตตะปาการัง ธัมโม อัมหากัง สัตตะปาการัง
สังโฆ อัมหากัง สัตตะปาการัง

ขอให้ตั้งจิตมั่นอย่าหวั่นไหว จะเป็นเครื่องป้องกันสรรพสิ่งทั้งปวง คือ อภัยมิตร อมนุษย์ภัย ราชาภัย โจรภัย อัคคีภัย เป็นต้น อย่าได้ล่วงเกินเข้ามาทำอันตราย ผู้คนและสัตว์ทั้งปวงซึ่งอยู่ในขอบเขตนี้ได้ สิ้นกาลช้านานเถิด แล้วจึงกลั้นใจตอกหลัก 3 ที ให้มิด แล้วตรึงเสียด้วยคาถาโสทายะ กันอันตรายทั้งปวงเข้ามาไม่ได้เลย

ถ้าจะรักษาไข้

ท่านให้เอานํ้าในบาตร 9 บาตร แล้วเอาเทียน 9 เล่มติดทุกบาตร แล้วเอามีด ดาบ ตะกรุด ปลุกเสกใส่ในบาตร บาตรละ 9 ที แล้วเอานํ้าในบาตรนั้น มาอาบกินหายแล แต่เมื่อจะทำ ให้ใส่บัวหลวงลงไปในทุกบาตรแล

แม้นสะกดค่ายข้าศึกให้หลับสิ้น

ท่านให้เอาขี้เถ้าพราย มา 9 กำมือ เอามาปลุกเสกด้วยฤกษ์มหานิทรา 9 ที แล้วเอาขี้เถ้าพรายนั้นโปรยเข้าไปในค่าย๙ที ม้าศึกหลับสิ้นแล

  • เมื่อจะเปิดทวารท่านให้เสกมีด ด้วยพระคาถานี้
    • โอมกูจะเปิดทวารบานประตู วิมานฟ้า วิมานดิน วิมานอินทร์ วิมานพรหม สารพัด ลุ่ย สวาหะ โอมพระยาหนุมานเผยช่องให้กูเดิน
    • พุทธังกระจาย ธัมมังกระจาย สังฆังกระจาย นะกระจาย โมกระจาย พุทกระจาย ธากระจาย ยะกระจาย กระจายสวะหะ โอมพระหนุมาน กาจัด กาจาย สวาหะ
    • เสกมีด 9 ที แล้วจึงเอาปลายมีดนั้นปักบานประตู เข้าประตูไปเถิด เปิดเองแล
  • แม้นจะหนีศัตรูไม่ให้ตามเราทัน ท่านให้กลั้นใจเก็บใบไม้ 3 ใบ แล้วกลั้นใจตัด
    • ใบไม้ให้ได้ 3 ท่อน บริกรรมด้วย
    • อะสังวิสุโลปุสะพุภะ
    • เอาใบไม้นั้นทิ้งไว้กลางทาง ศัตรูมาถึงก็จะหลงทางแล
  • แม้นเราจะเดินทางเราจะหยุดนอนที่ใดๆให้เอามีดมาปลุกเสกด้วยกรวดทรายแล้วให้เอาทรายนั้นโปรยไว้รอบๆแล้วอธิษฐาน “แม้นศัตรูมาจะทำร้ายแก่ข้าพเจ้า ขอให้บรรดาลูกกรวดทรายเหล่านี้ จะเป็นอสูรพิษไล่กัดศัตรูเถิด” ถ้าศัตรูมากลางคืนให้เห็นคนมากมายแล
  • แม้นจะมีคนมายืมข้าวของเราไป เรากลัวของเราจะสูญท่านให้เอามีดมาปลุกเสก แล้วเอามีดมาสรงนํ้า แล้วนำนํ้านั้นมารดสิ่งของ แล้วจึงให้เค้าไปของนั้นไม่สูญเลยด้วยอนุภาพมีดนั้นแล
  • แม้นให้ศัตรูฉิบหาย ท่านให้เอากระเบื้องบาตรดินเผา แล้วเอามีดปลุกเสก แล้วเอาปลายมีดนั้นขัดลงที่กระเบื้องบาตรดินนั้น 9 ที แล้วจึงเอามาตำให้ละเอียด แล้วเสกคาถา พุทธัง ปัจจัก ขาสิมรณัง ธัมมัง ปัจจัก ขาสิมรณังสังฆัง ปัจจัก ขาสิ มรณัง ให้ได้ 9 ที แล้วจึงเอาไปซัดโปรยที่เรือนศัตรูศัตรูนั้นฉิบหายแลตายโหง เป็นอันตรายต่างๆนานา
  • อนึ่งแม้จะปลูกฟักแฟงแตงและจะทำนา และหว่านพืชข้าวก็ดี ท่านให้เอามีดมาปลุกเสก แล้วเอาสรงนํ้า จึงเสกด้วยคาถานี้ ยัมพุทธเสฏโฐ ปริวัณณ ธุจิง ท่านให้เสก 9 ทีแล้วจึงนำนํ้ามารดข้าว ปลูกฟักแฟงทั้งปวงแล้วเอาไปปลูกเถิด เกิดผลงามดีนัก
  • อนึ่งด้วยจะค้าขายของท่านให้มาปลุกเสก เอานํ้ามาใส่ขันสำริดลง แล้วเอาแป้งหอม 9 เม็ด ใส่ลงในนํ้าแล้วเอามีดนั้นสรงนํ้าในขัน จึงเอานํ้านั้นมาพรมสินค้าขายดีนักแล
  • อนึ่งจะปลูกเรือน ให้อยู่เย็นเป็นสุข ให้เอานํ้าใส่ขันสำริด ท่านให้เอาหญ้าคา 9 ต้น ใบพุทธรักษา 9 ใบ มะตูม 9 ใบใส่ลงในนํ้าแล้วจึงเอามีดมาสรงนํ้า แล้วเอามารดพื้นที่ที่จะปลูกเรือน รดเสา และรดต้นไม้ ไม้เครื่องปลูกเรือนอยู่เถิด เรือนนั้นอยู่เย็นเป็นสุข และปราศจากโรคภัยทั้งปวง
  • อนึ่งแม้นจะคุ้มเคหะบ้านเรือน เมื่อจะกินอาหารในวันเสาร์ และวันอังคาร ให้บูชามีดด้วย ข้าวปลา อาหาร แล้วจึงสั่งว่า ถ้าขโมยหรือโจรมาทำร้ายแก่เราให้บอกด้วย ถ้าศัตรูมาเรานอนหลับก็ให้ปลุกเราด้วย
  • ถ้าจะให้เป็นเมตตา ให้เอาข้าวสารตกก้นครก 9 ครก เอาใบไม้รู้นอน 9 สิ่ง เอาใบหิงหาย เอามาต้มเป็นกระส่าย จึงย้อมข้าวสารให้ได้ 9 หน จึงเอาเก็บไว้ใช้ แม้นจะ 54 ไปขอของแก่ท่าน ให้เอาลูกประคำก็ได้ พระภควัมบดีก็ได้ อมไป แล้วจึงเอาข้าวสารนั้นใส่ลงไปในพาน จึงเอามีดวางบนปากพานจุดธูปเทียนดอกไม้บูชา เอาแป้งหอม ๙ เม็ด ใส่ลงในนํ้ามัน แล้วจึงนั่ง ผิงหน้า จำเพาะไปตรงสู่ผู้ที่เราต้องประสงค์จะไปหานั้น จึงว่าคาถาเสกตาม พุทธังสังฆัง คะลังโลเก สัพพะนิทรา ทะสะปารมิตา โลหะกันตานามะ เตนะโม มาตาปิตะ พุทธะคุณณัง สัพพะศัตรูวิธังเสนตุ อะเสสะโต เอวังทะสะวัณโณ การะโก ปะติฏฐิตัง จักรวาลฬะ สัพพะสัตตานัง นุภาเวนะ มาราโมรัง อะติกันตา ทะสะพรหมานุภาเวนะสัพพะศัตรูวินาสสันติ อะเสสะโต ฯ
  • ให้เสกนํ้ามันหอม นํ้ามันงาอยู่ตรงสารพัดอาวุธทั้งปวง
  • ถ้าจะปรารถนาหญิงให้เขียนชื่อใส่ใต้ที่นอน เสก 7 ที อยู่ไม่ได้เลย 7 วันมาแล
  • ถ้าจะให้เป็นจังงัง ให้เอาด้วยพรหมจรรย์ 30 เส้น เสกทำเป็นมงคลสวมใส่ มิเห็นตัวเราเลย
  • ถ้าเข้าหาความเข้าเรา ให้เอาข้าวปากหมอสามปั้นมาเสก ชักลูกประคำให้ได้ 108 ที แล้วจึงว่าคาถาจับมีด จึงเอานํ้ามันและแป้งที่เสกไว้ทาตัว แล้วเอาดอกไม้ทัดหูไปเถิด เดินพลางภาวนาพลาง อย่าให้ขาดปาก ถ้าพบบุคคลใดพูดจากับเราอย่าพูดด้วยเลย ครั้นเมื่อถึงเรือนแล้วให้ตรงเข้าไปหาแล้วจึงขอสิ่งของต้องประสงค์ ผู้นั้นให้แก่เราแล เมื่อกลับมาภาวนาแลผู้นั้นหารู้ค่าของสิ่งนั้นให้แก่ใครไป ให้หลงลืมไปแล

วิธีใช้ดาบ และตะกรุด

ครูดาบทั้งหลาย

  1. ครูค้อน
  2. ครูฟืน
  3. ครูสูบ
  4. ครูกระโมด
  5. ครูบาตร
  6. ครูทั่ง
  7. ครูคีม
  8. ครูเพดานทั้งข้างหน้า ข้างหลัง
  9. ครูธาตุทั้ง 4
  10. ครูทิศทั้ง 4
  11. ครูเหล็ก
  12. ครูช่าง (ช่างผู้ตีดาบ) และครูผู้ถ่ายทอดเพลงดาบ วิธีใช้ดาบ ครูดาบ

วิธีใช้ตะกรุด

ของที่ต้องเตรียม

  • ขันนํ้ามนต์
  • นํ้าสะอาด
  • ฝักส้มปอย
  • ดอกไม้สามสี ฯลฯ
  • เทียนนํ้ามนต์ (เทียนขี้ผึ้งแท้)

นำตะกรุดใส่ลงในขันนํ้ามนต์

  • ใส่นํ้าสะอาดลงให้เกือบเต็มขันนํ้ามนต์
  • ใส่ดอกไม้สามสี ฯลฯ ใบดอก
  • ฝักส้มปอย 3 5 7 9 เขียนอักขระในฝัก แล้วจุดไฟรนฝักส้มปอยก่อน แล้วใส่ในขันนํ้า
  • วางเทียนลงขอบขันนํ้ามนต์
  • เริ่มจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย
  • จุดเทียนทำนํ้ามนต์

เวลาอาบน้ำมนต์

เวลาอาบให้อาบนอกบ้าน (ไม่อยู่ในหลังคาบ้านเรือน) ให้ผู้จะทำการอาบหันหน้าออกหน้าบ้าน โดยนั่งเหยียดเท้าออกทางหน้าบ้าน (หันออกไปทางทิศตะวันตก)

ให้ราดลงจากศีรษะไปยังปลายเท้า เทออกนอกบ้านเมื่ออาบเสร็จแล้ว เวลาลุกให้เดินไป ไม่หันหลังเหลียวไปมอง ตำแหน่งจุดที่อาบนํ้ามนต์ จนเข้าไปเปลี่ยนเสื้อผ้า เสร็จแล้วจุดธูป บูชาพระรัตนตรัยอีกครั้ง ของใช้ควรเป็นของใหม่ทั้งหมด เพื่อนำมาใช้การนี้โดยเฉพาะ (ดังนั้นที่ใช้ให้เป็นของใหม่ไม่ใช้ทำอย่างอื่น ถ้าให้ดีหาขันนํ้ามนต์ทองเหลืองหาให้เหมาะสมกับงาน)

การอาบนํ้ามนต์นี้ เพื่อสร้างขวัญ และกำลังใจ โดยมนต์ของคาถาพระพุทธมนต์ ด้วยอำนาจแห่งพระพุทธมนต์ ช่วยล้าง และขับไล่อาถรรพ์ ต่างๆ ได้

ในกรณีที่ใช้ตะกรุดมงกุฎพระพุทธเจ้า

ในกรณีกันคุณ , ถอดถอน , สะท้อนกลับ ให้ท่องบทคาถาย้อนกลับจากท้ายไปหาต้น นํ้ามนต์ที่ทำเมื่อนำมาอาบแล้ว ผู้ที่คิดว่าโดนคุณ หรือของตํ่า ต้องธรณี ของก็จะถูกส่งสะท้อนกลับไปหาผู้ที่ทำ ขึ้นอยู่กับ ความหนักเบาของอาการ

โดยทั่วไปพระยันต์ที่ลงเป็นตะกรุด ต้องลงด้วยพระพุทธคุณในอิติปิโส รัตนมาลา มาลงกำกับไว้ อุปเทการใช้นั้นขึ้นอยู่กับภาวะจิตของผู้ปรารถนา คิดดีทำดีผลรับดี ใช้ได้ทั้งทางดี และถอดถอนสร้างเสริมพลังด้วยการสร้างขวัญ และกำลังใจด้วยด้วยอำนาจจิต

เมื่อพิธีเสร็จแล้ว นำเทียนที่จุดวนหน้าผิวนํ้าสามรอบ แล้วจุ่มเทียนลงในนํ้ามนต์เป็นอันเสร็จพิธี ช่วงที่จุ่มเทียนลงในนํ้าให้ท่อง บท “เถโรโมคคัลลานะดับพิษไฟ”

เถโร โมคคัลลาโน นะรัตกัตตัง โลหะกุมภี ทิสวา อัคคี ปัตติ กัมปะติฯ ใช้ดับพิษไฟต่างๆ

การใช้มีด หรือ ดาบที่ลงอาคม หรือประจุของในการทาการต่างๆ

ปัจจุบัน มีดอาคม ดาบอาคม ไม่ได้ใช้ในศึกสงครามแล้ว ความเป็นขัตติยะได้จางไป แต่เราจะยังคงใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ ตามความเชื่อถือ ซึ่งวิธีการเหล่านี้จัดอยู่ในการสร้างขวัญและกำลังใจ แบบจิตวิทยาโบราณ ในหมวดพระพิชัยสงคราม “กลอินทร์พิมาน” “การสร้างขวัญด้วยพิธีกรรม”

ใช้ในการเสกยา เสกทราย เสกข้าวสาร ทาน้าพุทธมนต์

เตรียมสิ่งของที่จะทำ อาทิ ถัง ขัน บาตรนํ้ามนต์ ธูปเทียน ตะกรุด มีดอาคม ดาบอาคม ทราย ข้าวสาร ยาฯลฯ เมื่อเทสิ่งของเต็มภาชนะที่เตรียมไว้ อาราธนามีดดาบ อาคมปักลงในภาชนะ จุดธูป อาราธนาพระรัตนตรัย ปักลงบนภาชนะ จากนั้นสวดบทเจริญพระพุทธมนต์ที่เตรียมไว้ หากเสกเครื่องยา ก็ต้องอัญเชิญครูหมอชีวกโกมารภัจจ์เป็นครูต้นด้วย รวมถึงนมัสการปัญจวัคคีย์ทั้งห้า

ในการทำนํ้ามนต์เพื่อความขลังให้นำมีดหรือดาบ วางในขันนํ้า หรือ วางพาดบนภาชนะที่เตรียมไว้เทนํ้าราดผ่านลงไปแล้วก็ ดำเนินตามขั้นตอนที่ทำนํ้าพระพุทธมนต์หากมีพระกริ่งก็ยิ่งดี นำมาอาราธนา แช่ลงในนํ้าด้วย

หากมีพระที่นับถือ ครบตามโฉลกวันก็ยิ่งดี เช่น

  • วันอาทิตย์ = พระสมเด็จมารวิชัย , พระกริ่ง
  • วันจันทร์ = พระชัยวัฒน์
  • วันอังคาร = พระปิดตาพิมพ์ อุดทวารทั้ง 9
  • วันพุธ = พระราหู, ประคำเม็ดยาจินดามณี, ประคำเหล็กนํ้าพี้
  • วันพฤหัสบดี = คุณครูฤาษีทั้งหลาย
  • วันศุกร์ = ท้าวเวสสุวรรณ
  • วันเสาร์ = มหาเทพทุกพระองค์

หรือจะอัญเชิญรูปจำลองหลวงพ่อ หลวงปู่ พระเกจิ ที่นับถือ มาเพิ่มก็ยิ่งดี

แม้จะแก้ลมเพลมพัด ท่านให้เอามีดมาทำ แล้วเอามีดลงสรงนํ้ามนต์ ให้ได้ 9 หน จึงว่าคาถาดังนี้ “สัตถา” ให้ใช้ 9 หน แล้วจึงเอานํ้านั้นอาบกินดีนักแล

ในกรณีทำน้ำสาบาน

ทำเหมือนนํ้าพระพุทธมนต์แต่ไม่ต้องใส่ดอกไม้ ดาบวางบนภาชนะ โรยแกลือบนใบดาบ เมื่อจะให้ใครสาบาน ให้เอาใบดาบตั้งบริเวณปาก แล้วนำนํ้าพุทธมนต์ เทใส่ผ่านเกลือที่โรยนั้นได้

ในกรณีใช้มีด หรือดาบไปยังสถานที่อาถรรพ์

ใช้คาถาอาราธนาอาวุธ พระเจ้าทั้ง 5 แล้ว ใช้มีดดาบ ขีดเส้นรอบในบริเวณพื้นที่ที่มีอาถรรพ์ หากพื้นที่มีความอาถรรพ์มาก ให้ใช้ดาบหรือมีด ปักกลาง พื้นที่นั้นเสีย (ให้ขอขมาพระแม่ธรณีก่อนด้วย แล้วนั่งบริกรมคาถา 108 จบ

หากมีทรายเสกข้าวสารเสก ให้โรยลงในพื้นที่นั้นด้วย ก่อนทำการ ให้ขอทำการพระแม่ธรณีเสียก่อน

จะสังเกตอย่างไร? เมื่อตะกรุดเตือนภัย

ในกรณีแขวนในคอ (ให้ฝึกจับความรู้สึก)

  1. ตะกรุดมีอาการร้อนขึ้นกว่าปกติ (หากขับรถอยู่ ให้หยุดพักชั่วคราว หรือหากหยุดไม่ได้ ให้บริกรรมคาถาอย่าหยุด )
  2. ใส่ตะกรุดเป็นประจำ แต่ในวันที่ลืมใส่ ให้รีบกลับไปเอาเมื่อนึกขึ้นได้ หากกลับไปไม่ได้ ให้บริกรรมคาถาตลอดเวลาหรือให้หยุดสักครู่หนึ่งแล้วบริกรรมคาถาก่อน แล้วค่อยไปต่อ
  3. เชือกหรือสร้อยที่ห้อยตะกรุดขาด อย่างผิดปกติ
  4. รู้สึกหนักคอ,ปวดหัว, เวียนศีรษะ ส่วนใหญ่อาการเหล่านี้จะเกิดจากเข้าไปในสถานที่อื่นๆที่เลี้ยงผีหรือเล่นของตํ่า เขี้ยวงา เสือ สิงห์ต่างๆ, ดินป่าช้า หรือมีของที่ไม่ถูกกัน ต้านกันอยู่, มนต์ดำ สถานที่อโคจร ให้รีบออกมา หาที่โล่งๆและ อากาศถ่ายเทสะดวก หากต้องเข้า ให้ขอขมาเจ้าที่ เจ้าทางผีบ้าน ผีเรือนก่อน แต่ถ้าเข้าไปในที่ที่ใดแล้วรู้สึกเย็นสบาย ก็ไม่มีปัญหา

ในกรณีเราไม่สบาย ให้ถอดของวางไว้ที่พานครูก่อน อย่าเพิ่งเอามาใส่ เพราะจะยิ่งหายช้า และอาการอาจทรุดหนัก

ในกรณี คาดเอว

  1. มีความรู้สึกร้อนบริเวณที่คาดตะกรุดนั้น
  2. มีความรู้สึกว่าตะกรุดรัดแน่นผิดปกติ
  3. ลืมคาดตะกรุด
  4. ตะกรุดหักหรือแตก
  5. เข้าที่อโคจร หากอาจเกิดอาการเวียนศีรษะ หรือหนักศีรษะ,ไม่สบายตัว,ที่แห่งนั้นมีสัมภเวสี, เจ้าที่เจ้าทางไม่อนุญาต หรือของที่เราใส่นั้นไปกระแทกใส่เข้า ให้ขอขมาก่อนเข้าไป

ตะกรุดเวลาใส่คอ หรือคาดเอว

ใส่ขึ้นคอ

“อิมัง องคะพันธนัง อัฏฐิฐามิ” เอามือตบที่หน้าอก 3 ที

ใส่คาดเอว

“อิมัง กายะพันธนัง อัฏฐิฐามิ” หมุนรอบเอวสามรอบ ว่า 3 จบ

กรณีเข้าที่ต่า ลอดราวผ้า หรือ ลอดสะพาน

“อักขระ ยันตัง ขมาตุเม” “อักขระโทสัง ขมาตุเม”
“อะธง อะธง อะธง” (พ่อหลวงมา)
“นะปิด สะ อะ อุป ปิดกระหม่อม เข้าไปในที่ไม่สมควรเข้า” ครูนิพนธ์ พุฒิยอด
“อุ ติ มิ” เวลาเสพ (กาม) ภาวนา

บทความและข่าวสารอื่นๆ

ไทฟูโด (Taifudo Academy) โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ
ไอคิโด (Aikido) คืออะไร?
"ไอกิโด" เขียนคำ "คิ" ในแบบตัวอักษรดั้งเดิม
ไทฟูโด (Taifudo Academy) โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ
มวยไชยา (Muay Chaiya)
มวยไชยา เป็นศิลปะมวยไทยประจำถิ่นอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีชื่อเสียงมากสมัยรัชกาลที่ 5 – ...
ไทฟูโด (Taifudo Academy) โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ
มวยไทย (Muay thai)
มวยไทย เป็นศิลปะการต่อสู้ของประเทศไทย มีความโดดเด่นด้านเทคนิคการกอดคอต่อสู้ ซึ่งเป็นการใช้ทั้งกายและ...
ไทฟูโด (Taifudo Academy) โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ
คาราเต้ (Karate) ศิลปะผสมผสานเสริมร่างกายผนึกจิตใจ
คาราเต้ (ญี่ปุ่น: 空手; โรมาจิ: karate; ทับศัพท์: คะระเตะ) หรือ คาราเต้โด (ญี่ปุ่น: 空手道; โรมาจิ: karat...
ไทฟูโด (Taifudo Academy) โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ
ศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสาน (MMA) คืออะไร? 
ศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสาน หรือ Mixed Martial Arts (MMA) เป็นกีฬาการต่อสู้ที่มีความเคลื่อนไหวและน่าสนใ...
ไทฟูโด (Taifudo Academy) โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ
ยูโด (Judo) คืออะไร?
ยูโด (ญี่ปุ่น: 柔道; โรมาจิ: jūdō จูโด) เป็นกีฬาและศิลปะการต่อสู้ที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น มีต้นกำเนิ...
Before you continue to use Taifudo Academy
We use required cookies for site navigation, purchasing, improving your browsing experience to:
  • Provide you with services described on the Sites, general administrative and performance functions, and support services;
  • Operate the Sites and verify your identity when you sign in to any of our Sites;
  • Inform you about company news and give updates on our services;
  • Carry out technical analysis to determine how to improve the Sites and services we provide;
  • Track outages and protect against spam and fraud.
If you choose to “Accept all,” we will also use cookies and data to:
  • Improve site performance;
  • Deliver and measure the effectiveness of ads;
  • Show personalized content and ads, depending on your settings.
You can always change your browser settings and other ways to reject cookies. To learn more, please visit www.allaboutcookies.org.