ไสยเวทย์ เขียนโดยทิดเอก

ไสยเวทย์ เขียนโดยทิดเอก
ไทฟูโด (Taifudo Academy) โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ

ชายชาวสยามในอดีตทุผู้ทุกเหล่า ตั้งแต่ แม่ทัพ นายกอง ทหาร ตลอดจนถึงสามัญชนทั่วไป มักจะต้องมีวิชาติดตัวกันบ้าง ไม่ว่าจะเป็น วิชาหมัดมวย วิชาศาสตราวุธ
กลศึกพระพิชัยสงครามรูปแบบต่าง และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ วิชาการด้านไสยวิทยาคม ซึ่งรวมไปถึงการมีของดีของขลังติดตัวกัน
ไม่มากก็น้อย โดยการเรียนในสมัยก่อนนั้น บิดามารดา จะส่งลูก
ไปศึกษาเล่าเรียนที่ สำนักทิศาปาโมกข์ หรือกับพระอาจารย์เก่งๆ
ที่อยู่ตามวัดต่างๆ เพื่อที่จะกลับมารับใช้ชาติในโอกาสต่อไป
ในการเรียนนั้น จะมีตั้งแต่การท่องบ่นพระคาถา เลขยันต์
ตารางยันต์ต่างๆ รวมไปถึงการสร้างเครื่องรางของขลัง
ไว้ใช้ในการป้องกันตัว เช่น การสร้างประเจียด มงคล แหวนพิรอด
ผ้ายยันต์ ตะกรุด เป็นต้น ในบางครั้งเมื่ออกไปข้างนอก เราอาจจะกระทำสิ่งที่ไม่เป็นมงคลให้เกิดขึ้นกับตัวเอง
ทั้งโดยเจตนาและโดยพลั้งเผลอ เช่น การพูดจาไม่สุภาพ การผิดศีลบางข้อบางประการ ทำให้พระคาถาที่ท่องบ่น
ที่ใช้คุ้มกายนั้นไม่เกิดผล หมดความขลังไปในตอนนั้น แต่ยังมีของขลังที่ผูกด้วยอาคมคุ้มกายอีกชั้นหนึ่ง
เมื่อมีการศึกเกิดขึ้นมา เหล่าแม่ทัพ นายกอง ตลอดจนพระสงฆ์ มักทำเครื่องราง ของขลังมอบให้แก่เหล่าทหาร ไพร่พล ใช้ในการป้องกันตัว และเป็นการเพิ่มพูนขวัญกำลังใจ เพื่อให้ไพร่พลเหล่านั้นพร้อมที่จะต่อกรกับข้าศึก ซึ่งวิชาเหล่านี้เคยมีส่วนช่วยในการกู้ชาติมาแล้ว
ความเป็นจริงแล้ววิชาเหล่านี้เป็นอุปเทของครูบาอาจารย์ ที่มีไว้ให้กับแม่ทัพ นายกอง เหล่าทหาร ใช้ในการศึกคือ หลังจากการร่ำเรียนและท่องบ่นมนต์พระคาถาจนคล่องแคล่วจำขึ้นใจ ครูบาอาจารย์จะมีการผูกพระคาถาผนวกเข้ากับตารางยันต์ โดยตารางยันต์เหล่านี้จากที่เห็นคือจะถูกจารบรรจุลงในของขลัง แท้จริงแล้วก็คือ การวางผังทัพตามหลักพิชัยสงคราม ขุม หลุม บล็อก ในการก้าวย่างเท้าในวิชาหัตยุทธ์ วิชาศาสตราวุธ แขนงต่าง เพื่อป้องกันการหลงลืม การสูญหายของวิชา ซ้ำยังเป็นการฝึกจิต ฝึกสมาธิ ยังให้ผู้ฝึกมีจิตใจแน่วแน่ หนักแน่น มั่นคง และอิทธิฤทธิ์ ความขลัง เกิดขึ้นจริง ตามมาภายหลัง ดั่งที่ว่า
“มโนบุพนิ คมธัมมา มโนมเสฐฐา มโนมยา”
“ทุกสิ่งมีใจเป็นใหญ่ มีใจเป็นประธาน ทุกสิ่งสำเร็จได้ด้วยใจ”

ปัจจุบัน ยังคงมีการอนุรักษ์วิชาเหล่านี้ ไว้ โดยวิชาเหล่านี้เป็นหนึ่งในสิบแปดศาสตร์ของไทย ที่เหล่าแม่ทัพ นายกองต้องศึกษา อยู่ในวิชา ฉุปาศาสตร์ สาขามายาศาสตร์ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ เลขยันต์ต่าง ๆ ในกลศึกพระพิชัยสงคราม
สำหรับผู้เขียนเป็นศิษย์สายในของ อ.ชีวิน อัจฉริยฉาย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๖ และได้มีโอกาสเข้าไปศึกษาเล่าเรียนไสยวิทยาคม ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ จึงขอถือโอกาสนี้หยิบยกแง่มุมต่างๆ ที่เคยได้สัมผัสจากการเล่าเรียนเรียนไสยวิทยาคม จากอาจารย์มาเล่าสู่กันฟัง สำหรับการเริ่มต้นของการเรียนของผู้เขียนนั้นเริ่มจากความสงสัยที่ตัว นะ ในภาษาขอมเขียนอย่างไร สาเหตุที่สงสัยนั้นเนื่องจากได้ไปอ่านหนังสือสวดมนต์เล่มหนึ่งที่ท้ายเล่มบอกไว้ว่า ให้ท่องพระคาถาพร้อมกับการเขียนตัวนะ ผู้เขียนจึงได้ไปถามอาจารย์ว่าตัวนะมันคืออะไรเขียนอย่างไร หลังจากนั้นเป็นต้นมาอาจารย์ก็ได้เริ่มสอนวิชาไสยเวทย์ ต่อมาก็ได้มีการครอบครูซึ่งถือเป็นหลักในการเรียนไสยเวทย์ ที่ทุกคนที่เรียนต้องกระทำ โดยอาจารย์เป็นคนครอบครูให้เพื่อจะได้มีความเจริญก้าวหน้าในวิชาต่อไป ซึ่งในตอนนั้นมีศิษย์พี่ศิษย์น้องที่เรียนด้วยกันห้าคน คือ พี่ชายฟ้า พี่ตี๋ พี่กร โจ้ และผู้เขียน

สำหรับการเรียนนั้นจะเริ่มด้วย การเรียนอักขระขอม โดยเริ่มต้นจาก ตัว กะ ไล่เรื่อยไปจนถึง อัง ทั่งตัวต้นและตัวตีน ซึ่งตัวต้นคือ พยัญชนะต้น มีตัวตีน เป็นตัวสะกด ต่อจากนั้นบทสระจมีตั้งแต่ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ เมื่อมีการเขียนจนคล่องแคล่วก็เริ่มเรียนการกำหนดลมหายใจในการท่องพระคาถา มีการกำหนดแบบต่างๆ เช่น คาบลม คาบอึดใจ คาบพระคาถา เป็นต้น ต่อจากนั้นก็ตามด้วยการเรียนการสร้างพระยันต์ เริ่มจากวิธีการทำให้ของหรือวัสดุที่มาทำพระยันต์ให้บริสุทธิ์ ต่อด้วยวิธีการการเรียกสูตรเรียกนามเมื่อมีการเขียนพระยันต์ สุดท้ายก็เป็นการสร้างพระยันต์ต่าง ๆ ซึ่งจะมีการสร้างต่างกันออกไป

ในช่วงระหว่างเรียนนั้นผู้เขียนได้มีโอกาสติดตามอาจารย์ไปตามงาน
พิธีการสำคัญ ๆ หลายครั้ง เช่น งานพิธีเขียนพระยันต์สร้างองค์จตุคามรามเทพ
ณ วัดคอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ. สงขลา ซึ่งอาจารย์เป็นคนจารพระยันต์ที่จะนำไปหล่อเป็นองค์จตุคาม

งานพิธีเขียนพระยันต์สร้างองค์จตุคามรามเทพ ณ วัดคอหงส์

งานพิธีปลุกเสกจตุคามรามเทพ ณ วัดคอหงส์ เป็นต้น จากติดตามอาจารย
์ไปตามงานพิธีต่าง ก็ได้มีโอกาสเห็นสิ่งที่ แปลก หรืออาจเรียกว่า ความขลัง
บ้างตามสมควร เช่น ที่งานพิธีเขียนพระยันต์สร้างองค์จตุคามรามเทพ ณ วัดคอหงส์ คือตอนที่อาจารย์บวงสรวงและเชิญครูก่อนทำการเขียนพระยันต์ ผู้เขียนซึ่งนั่งอยู่ข้างหลังอาจารย์ได้เห็นตัวอาจารย์โตขึ้น ๆ ซึ่งเหตุการณ์ในตอนนั้นผู้เขียนคิดว่าเป็น อุปาทานจริต แต่ในขณะนั้นกล้องถ่ายภาพทุกกล้องที่เตรียมกันไว้เพื่อถ่ายภาพพิธีกรรมเก็บไว้ ไม่สามารถทำงานได้แม้แต่กล้องเดียว และมาทำงานได้เมื่อตอนเสร็จพิธีแล้ว
นั่นคือประสบการณ์โดยสังเขปในช่วงที่เรียนไสยวิทยาคมกับอาจารย์ ส่วนความรู้ รายละเอียด เกี่ยวกับพระยันต์ ของขลัง ติดตามได้ในตอนหน้านะครับ
แผ่นดินไทยมีอยู่ได้ถึงตอนนี้เพราะว่ามี บรรพบุรุษผู้เสียสละ ปกป้องไว้ เบื้องหลังของท่านเหล่านั้น ยังมีวิชาเหล่านี้ที่มีส่วนช่วยสร้างกำลังใจให้พร้อมสู้ พร้อมเสียสละ เพื่อแผ่นดิน ซึ่งวิชาเหล่านี้ได้เกิดภูมิปัญญาที่เฉียบแหลมสืบทอดกันมา แค่นี้ก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้พวกเราลูกหลานตัวเล็ก ๆเห็นคุณค่า และพร้อมที่จะอนุรักษ์ไว้ให้อยู่คู่กับแผ่นดินนานเท่านาน

ทิดเอก

บทความและข่าวสารอื่นๆ

ไทฟูโด (Taifudo Academy) โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ
ไอคิโด (Aikido) คืออะไร?
"ไอกิโด" เขียนคำ "คิ" ในแบบตัวอักษรดั้งเดิม
ไทฟูโด (Taifudo Academy) โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ
องค์บาก 2-3 ออกแบบคิวบู้โดยอาจารย์ชีวิน อัจฉริยะฉาย
องค์บาก 1 องค์บาก (อังกฤษ: Ong Bak) เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2546 ผลงานการกำกับโดย ปรัชญา ป...
ไทฟูโด (Taifudo Academy) โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ
มวยไชยา (Muay Chaiya)
มวยไชยา เป็นศิลปะมวยไทยประจำถิ่นอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีชื่อเสียงมากสมัยรัชกาลที่ 5 – ...
ไทฟูโด (Taifudo Academy) โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ
มวยไทย (Muay thai)
มวยไทย เป็นศิลปะการต่อสู้ของประเทศไทย มีความโดดเด่นด้านเทคนิคการกอดคอต่อสู้ ซึ่งเป็นการใช้ทั้งกายและ...
ไทฟูโด (Taifudo Academy) โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ
คาราเต้ (Karate) ศิลปะผสมผสานเสริมร่างกายผนึกจิตใจ
คาราเต้ (ญี่ปุ่น: 空手; โรมาจิ: karate; ทับศัพท์: คะระเตะ) หรือ คาราเต้โด (ญี่ปุ่น: 空手道; โรมาจิ: karat...
ไทฟูโด (Taifudo Academy) โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ
ศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสาน (MMA) คืออะไร? 
ศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสาน หรือ Mixed Martial Arts (MMA) เป็นกีฬาการต่อสู้ที่มีความเคลื่อนไหวและน่าสนใ...
Before you continue to use Taifudo Academy
We use required cookies for site navigation, purchasing, improving your browsing experience to:
  • Provide you with services described on the Sites, general administrative and performance functions, and support services;
  • Operate the Sites and verify your identity when you sign in to any of our Sites;
  • Inform you about company news and give updates on our services;
  • Carry out technical analysis to determine how to improve the Sites and services we provide;
  • Track outages and protect against spam and fraud.
If you choose to “Accept all,” we will also use cookies and data to:
  • Improve site performance;
  • Deliver and measure the effectiveness of ads;
  • Show personalized content and ads, depending on your settings.
You can always change your browser settings and other ways to reject cookies. To learn more, please visit www.allaboutcookies.org.