การถือน้ำพิพัฒน์สัตยา และดาบ

การถือน้ำพิพัฒน์สัตยา และดาบ
ไทฟูโด (Taifudo Academy) โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ

ลักษณะการปกครองของไทยในสมัยโบราณ นอกจากพระมหากษัตริย์จะดำรงฐานะเป็นผู้นำในการปกครองประเทศแล้ว ในยามที่บ้านเมืองเกิดศึกสงครามยังดำรงตำแหน่งผู้นำทางการทหาร

ในฐานะเป็นจอมทัพผู้เข้มแข็งกล้าหาญอีกด้วย หากจะพิจารณาความหมายของคำว่า “พระมหากษัตริย์” แล้วตามรูปศัพท์ “กษัตริย์” หมายถึง “นักรบ” “มหา” หมายถึง ยิ่งใหญ่ คำว่า “พระมหากษัตริย์” จึงหมายถึง “นักรบผู้ยิ่งใหญ่” และในฐานะนักรบผู้ยิ่งใหญ่สิ่งที่จะขาดเสียไม่ได้ คือ อาวุธ ในการต่อสู้ฟาดฟัน ปราบปรามข้าศึก อาวุธสำคัญของนักรบ คือ ดาบ นักรบกับดาบจึงเป็นสิ่งคู่กันเสมอมา โดยไม่อาจแยกความสำคัญของสิ่งหนึ่งสิ่งใดออกจากกันได้ และด้วยฐานะความสำคัญของพระมหากษัตริย์ ที่ทรงได้ซึ่งพระราชอำนาจ แล้วความศักดิ์สิทธิ์เปรียบเสมือน สมมุติเทพนั้น จึงมีการใช้ราชาศัพท์เพื่อยกย่องพระองค์ให้แตกต่างจากคนธรรมดา สามัญมากที่สุด คือว่า ราชาศัพท์ เรียกอาวุธสำคัญประจำพระองค์พระมหากษัตริย์ คือ พระแสงราชศัสตรา นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกต่างกันไปอีกหลายอย่าง เช่น พระแสงราชศัสตรา, พระแสงราชศัสตราวุธ, พระแสงราชาวุธ หรือพระแสงดาบอาญาสิทธิ์ เป็นต้น

คำว่า “พระแสงราชศัสตรา” หมายถึง อาวุธมีคมของพระมหากษัตริย์ที่ใช้สำหรับเป็นเครื่องฟันแทง หมายความถึง อาวุธทุกชนิด ทั้ง กระบี่, หอก, ดาบ, ง้าว, แหลน ฯลฯ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชาธิบาย ถึงแนวความ คิดเกี่ยวกับเรื่อง พระมหากษัตริย์ และอาวุธประจำพระองค์ไว้ตอนหนึ่งในหนังสือ “พระราชพิธีสิบสองเดือน” ความว่า เมื่อขัตติยะทั้งปวงประพฤติในการ ซึ่งถือว่าเป็นธรรม และใช้ธรรมอยู่เช่นนี้ ผู้ใดมีวิชาชำนิ ชำนาญในการใช้ศัสตราวุธ เป็นที่ตั้ง ปราบปรามขัตติยะทั้งปวง ให้ตกอยู่ใต้อำนาจไว้มาก คนทั้งปวงก็ย่อมเป็นที่หวาดหวั่นเกรงกลัว จึงยกให้เป็นพระราชา สำหรับที่จะไว้ดูแลบังคับผิด และชอบในบ้านเมือง แล้วแบ่งสรรในส่วนทรัพย์

สมบัติ อันตน หาได้ ให้เป็นเครื่องเลี้ยงอุดหนุนแก่ขัตติยะ ผู้เป็นพระราชานั้น ด้วยเหตุว่า ขัตติยะเป็นผู้ถือสิทธิว่าหาเลี้ยง ชีวิตด้วยคมอาวุธเช่นนี้ จึงเป็นที่คนทั้งปวงยำเกรง มากกว่า ตระกูลอื่นๆ คนทั้งปวงจึงมักจะเลือกตระกูลขัตติยะขึ้นเป็นพระราชาก็เมื่อชาติขัตติยะถือว่าคมอาวุธเป็นทางหากินเช่นนี้แล้ว ก็เป็นการจำเป็นที่จะเสาะแสวงหาศัตราวุธที่เป็นอย่างดีวิเศษ สำหรับตัวที่จะได้ใช้คล่องแคล่วสมดังประสงค์ อาวุธนี้ย่อมเป็นที่รักยิ่งกว่าทรัพย์สมบัติอื่นๆที่มี ไม่วางห่างกายเลย”

(พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว , พระราชพิธีสิบสองเดือน , (พระนคร : ศิลปา บรรณาคาร, 2416 , หน้า 225-226)

เนื่องจากพระแสงราชศัสตรามีความสำคัญ ซึ่งในฐานะเป็นสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายแทนพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ในสมัยสมบูรณาญา สิทธิราชย์ ฉะนั้นจึงปรากฏธรรมเนียม ว่าเมื่อใดก็ตามที่พระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระแสงราชศัสตรา หรือ พระแสงดาบอาญาสิทธิ ให้แก่เจ้านาย หรือ ขุนนาง ผู้หนึ่งผู้ใด มีความหมายว่า พระองค์มีพระราชประสงค์ให้บุคคลผู้นั้น มีอำนาจราชสิทธิเด็ดขาดในการปฏิบัติราชการแทนพระองค์ในวาระสำคัญต่างๆ ดังเป็น การพระราชทานพระแสงราชศัสตรา ให้แก่แม่ทัพ ในยามศึกสงคราม ซึ่งหลักฐานจากพระราชพงศาวดาร กล่าวว่า ผู้ถืออาญาสิทธิ์ หรือพระราชทานให้แก่เจ้านาย หรือขุนนาง ที่มีหน้าที่ปกครองดูแลหัวเมืองต่าง พระเนตรพระกรรณ เป็นต้น

ดังนั้นจึงอาจกล่าวสรุปได้ว่า บุคคลผู้ใดที่ได้รับพระราชทาน พระราชศัสตรา จึงเปรียบเสมือนเป็นผู้แทนพระองค์ในการใช้ราชอาญาสิทธิ มีความชอบธรรมในฐานะผู้มีอำนาจเต็ม สามารถดำเนินการออกคำสั่งในกิจการงานใดๆ ได้เด็ดขาดทุกเรื่อง แม้จน กระทั่งสามารถตัดสินพิพากษาลงโทษ ผู้สร้างความผิดถึงขั้นสูงสุด คือสั่งประหารชีวิต ได้โดยไม่ต้องกราบบังคมทูลให้ทราบความก่อน

พระราชพิธีถือนํ้าพระพิพัฒน์สัตยา คือ พระราชพิธีศรีสัจจปานุกาล (ถือนํ้าพิพัฒน์สัจจา) ถือนํ้าพระพิพัฒน์สัตยา เป็นพระราชพิธีที่ปฏิบัติสืบมาแต่โบราณกาล ถือว่าเป็นพิธีแสดงความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ โดยการกระทำสัตย์สาบานตน เบื้องหน้าสิ่งศักดิ์สิทธิทั้งหลายแล้ว ดื่มนํ้าแทง พระแสงราชศัสตรา ของพระมหากษัตริย์ ประกอบคำปฏิญาณแสดงความจงรักภักดี

ส่วนสาเหตุที่มาของการใช้ นํ้าชุบพระแสงราชศัสตรา เป็นนํ้าพระพิพัฒน์ สัตยานั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชาธิบายเพิ่มเติมด้วยว่า

“คงเริ่มด้วยวิธีขัตติยะ หรือกษัตริย์ คือ ทหาร ซึ่งเป็นผู้ถืออาวุธ หรือ หาเลี้ยงชีพด้วยคมอาวุธ พวกขัตติยะย่อมรัก และหวงแหนอาวุธไม่ย่อมให้ห่างกาย เมื่อจะสาบานที่ใช้อาวุธซึ่งอยู่ใกล้ตัว หยิบง่ายกว่าสิ่งอื่นล้างนํ้าให้รับประทานควบไปกับคำสาบาน”

การประกอบพระราชพิธีถือนํ้าพระพิพัฒน์สัตยา ปรากฏหลักฐานไว้มาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ในสมัยสมเด็จพระราชาธิบดีที่ 1 พระเจ้าอู่ทอง เนื่องจากรูปแบบการปกครองที่พระมหากษัตริย์มีฐานะเป็นเทวราช หรือสมมุติเทพ ตามคติพราหมณ์ คำสั่งของพระเจ้าแผ่นดิน เรียกว่า “โองการ” หมายถึง “คำศักดิ์สิทธิ์” แสดงถึง อำนาจการปกครองแผ่นดินเพียงพระองค์เดียว เพราะทรงมีฐานะ เป็นทั้งเจ้าแผ่นดิน และเจ้าชีวิตของประชาชน นับเป็นจิตวิทยาการปกครองที่ควบคุมทางจิตใจอีกรูปแบบหนึ่ง เพื่อป้องกันการกบฏ ทุจริต คิดมิชอบ แก่บ้าน เมืองในกฎมณเฑียรบาลระบุโทษผู้ขาดการถือนํ้าพระพิพัฒน์สัตยา มีโทษถึงตาย

พระราชพิธีถือนํ้าพระพิพัฒน์สัตยา เดิมประกอบพิธีปีละสองครั้ง ในวันขึ้นสามคํ่า เดือน ห้า (วันตรุษ และวันแรม 13 คํ่า เดือน 10 (วันสารท)) ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนแปลงกำหนดการ ถือนํ้าพะพิพัฒน์สัตยา ประจำปี จากเดิมที่ประกอบพระราชพิธีปีละสองครั้ง เหลือเพียงปีละ หนึ่งครั้ง ในวันตรุษ เดือนห้า หรือวัน ขึ้นสามคํ่า เดือนห้า ครั้นเมื่อมีการประกาศใช้ปฏิทินทางสุริยะคติ ให้ถือเดือนเมษายน เป็นเดือนแรกของปีใหม่ จึงได้มีการเปลี่ยนแปลง โดยมีกำหนดให้จัดพระราชพิธีในวันที่ สาม เมษายน ของทุกปี และ ยกเลิกการถือนํ้า ในวันสารทเดือนสิบ และแบ่งประเภทการถือนํ้าพระพิพัฒน์สัตยาออกเป็น สองประเภท ได้แก่ การถือนํ้าประจำ และการถือนํ้าจร

การถือน้าประจำ เป็นการถือนํ้าของพระบรมวงศานุวงศ์ข้าราชการทั้งฝ่ายทหาร และพลเรือน รวมทั้งภรรยา ตลอดจน ข้าราชการในกรมของพระราชวงศ์ที่มีศักดินา ตั้งแต่ 400 ขึ้นไป ปีละสองครั้ง ตอนต้นปีและปลายปี

การถือน้ำจร เป็นการถือกรณีพิเศษ ไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอน เช่น การถือนํ้าถวายสัตยานุสัตย์ต่อพระเจ้าแผ่นดินที่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ เรียกว่า “ถือนํ้าแรกเสวยราชย์” หรือ การถือนํ้าความสัตยานุสัตย์ ของบรรดาปัญจมิตร ที่เข้ามาสู่พระบรมโพธิสมภาร เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีการถือนํ้าพระพิพัฒน์สัตยาในโอกาส ที่แตกต่างกันอีกสองโอกาส คือการถือนํ้า พระพิพัฒน์สัตยา ของทหาร ซึ่งต้องประกอบพิธีเป็นประจำทุกเดือน และการถือนํ้าพิพัฒน์สัตยา ของบรรดาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน หมายถึง บรรดาชาวต่างประเทศที่รัฐบาลได้ว่าจ้างมาดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาราชการ ซึ่งต้องถือนํ้า เป็นกรณีพิเศษ เมื่อแรกเข้ารับตำแหน่ง

เมื่อกล่าวถึงขั้นตอนหลักของพระราชพิธีถือนํ้าพระพิพัฒน์สัตยา สามารถจำแนกได้เป็น 4 ขั้นตอน คือ

  1. การทำนํ้าพระพุทธมนต์
  2. การทำนํ้าพระพุทธมนต์ให้เป็นนํ้าพิพัฒน์สัตยาโดยใช้พระแสงราชศัสตราต่างๆ แทงนํ้าให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ น่าเกรงขาม
  3. การสาบานตน
  4. การดื่มนํ้าพระพิพัฒน์สัตยา

การแทงนํ้า ให้พระมหาราชครูพราหมณ์ พิธีเป็นผู้อัญเชิญ พระแสงทุกองค์มาแทง หรือชุบนํ้าพร้อมกับอ่านคำสาบาน แช่งนํ้า สาปแช่งผู้คิดคดทรยศ และให้พรผู้ตั้งอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต และกตัญญู

ธรรมเนียมการพระราชทานพระแสงราชศัสตรา หรือ พระแสงดาบอาญาสิทธิ์ นับแต่ครั้งโบราณจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ แบ่งได้เป็นสองลักษณะ คือ

๑. พระราชทานไว้เป็นประจำ

ในกรณีนี้เดิม เมื่อเสร็จราชการ แล้ว ต้องทูลเกล้าถวายคืน หากพระมหา กษัตริย์ โปรดเป็นพิเศษ และพระราชทานแสงราชศัสตรา ให้เป็นสิทธิขาด ผู้รับราชทาน ต้องถือว่าพระราชทาน ส่วนพระองค์เพื่อส่วนตัวของผู้นั้นเอง มิได้มีอำนาจอาญาสิทธิ หรืออำนาจในราชการงานเมืองอีกต่อไป และพระแสงราชศัสตรานั้นต่อมาจากเลื่อนกลายเป็นดาบประจำตระกูลไปในที่สุด

๒. พระราชทานเป็นกาลชั่วคราว

เป็นการมอบหมายเฉพาะกิจให้ไปปฏิบัติราชการแทนพระองค์ ส่วนใหญ่มักพระราชแก่แม่ทัพ ไปปฏิบัติราชการในสงคราม ซึ่งภายหลังจะเสร็จสิ้นภารกิจ ได้ถวายพระแสงราชศัสตราคืนทันที

บทความและข่าวสารอื่นๆ

ไทฟูโด (Taifudo Academy) โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ
ไอคิโด (Aikido) คืออะไร?
"ไอกิโด" เขียนคำ "คิ" ในแบบตัวอักษรดั้งเดิม
ไทฟูโด (Taifudo Academy) โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ
มวยไชยา (Muay Chaiya)
มวยไชยา เป็นศิลปะมวยไทยประจำถิ่นอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีชื่อเสียงมากสมัยรัชกาลที่ 5 – ...
ไทฟูโด (Taifudo Academy) โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ
มวยไทย (Muay thai)
มวยไทย เป็นศิลปะการต่อสู้ของประเทศไทย มีความโดดเด่นด้านเทคนิคการกอดคอต่อสู้ ซึ่งเป็นการใช้ทั้งกายและ...
ไทฟูโด (Taifudo Academy) โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ
คาราเต้ (Karate) ศิลปะผสมผสานเสริมร่างกายผนึกจิตใจ
คาราเต้ (ญี่ปุ่น: 空手; โรมาจิ: karate; ทับศัพท์: คะระเตะ) หรือ คาราเต้โด (ญี่ปุ่น: 空手道; โรมาจิ: karat...
ไทฟูโด (Taifudo Academy) โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ
ศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสาน (MMA) คืออะไร? 
ศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสาน หรือ Mixed Martial Arts (MMA) เป็นกีฬาการต่อสู้ที่มีความเคลื่อนไหวและน่าสนใ...
ไทฟูโด (Taifudo Academy) โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ
ยูโด (Judo) คืออะไร?
ยูโด (ญี่ปุ่น: 柔道; โรมาจิ: jūdō จูโด) เป็นกีฬาและศิลปะการต่อสู้ที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น มีต้นกำเนิ...
Before you continue to use Taifudo Academy
We use required cookies for site navigation, purchasing, improving your browsing experience to:
  • Provide you with services described on the Sites, general administrative and performance functions, and support services;
  • Operate the Sites and verify your identity when you sign in to any of our Sites;
  • Inform you about company news and give updates on our services;
  • Carry out technical analysis to determine how to improve the Sites and services we provide;
  • Track outages and protect against spam and fraud.
If you choose to “Accept all,” we will also use cookies and data to:
  • Improve site performance;
  • Deliver and measure the effectiveness of ads;
  • Show personalized content and ads, depending on your settings.
You can always change your browser settings and other ways to reject cookies. To learn more, please visit www.allaboutcookies.org.