ชุดมวย : มวยเสือ

4P1A4431 Website Taifudo Academy

มวยชุดนี้มีมาดั้งเดิม ตั้งแต่เส้าหลินใต้ เมืองฝู่เทียน มณฑลฟุกโจว ช่วง ค.ศ.1600 ก่อนเส้าหลิน ณ ที่แห่งนี้จะถูกทางการถล่มและพระเส้าหลินก็ได้แยกตัวกระจัดกระจายกันออกไปและตั้งกลุ่มในนาม “หงเหมิน” มวยในกลุ่มนี้จะขึ้นต้นว่าหงฉวนและต่อด้วยชื่อท่ามวย เช่น “หงฉวน สื่อจื่อเหม่ยฟาควิ่น” และกลุ่มถัดมาคือ พรรคฟ้าดิน, เทียนตี๋ฮุย ในชุดมวยจะขึ้นชื่อวิงชุน ใช้เป็นรหัส ชื่อนี้ มาจากห้องฝึกมวยในเส้าหลินใต้ ใช้ชื่อว่า“วิงชุนถัง” เป้าหมายของห้องฝึกนี้คือการรวบรวมผู้อาวุโส มาสร้างเพลงมวยที่เรียบง่ายและใช้ได้จริง ตัดท่าที่โลดโผนออกให้เหลือเฉพาะท่าที่ต้องใช้จริงๆ ชุดมวยไม่เน้นยาว แยกออกเป็น

  • มวยที่เน้น กง พลังกึ่งเกร็ง
  • มวยที่เน้นการออกแรง ลี่
  • และมวยที่เน้นกงและชี่, ลี่และชี่
4P1A4569 Website Taifudo Academy

มวยหมัดเหม่ยฟาควิ่น จัดเป็นมวยรหัสและผู้ที่มาจากหงเหมินและห้องฝึกวิงชุนฮอล, จะต้องรำกันได้หมด

“เหม่ยฟาควิ่น” ในมวยใต้ทุกสำนักจะมีมวยชื่อเส้นนี้อยู่ “ดอยเหม่ยสี่ทิศ” ในประเทศไทยคงเรียกว่า “มวยตีสี่ทิศ”

ในอดีตผู้จะฝึกท่ารำมวยต้องผ่านการฝึกพลังมาแล้ว โดยแบ่งออกเป็น

  1. ฝึกกำลังกล้ามเนื้อ
  2. ฝึกกำลัง เส้าหลินกึ่งเกร็ง
  3. ฝึกปราณ ระบบการหายใจ
  4. ฝึกนั่งวิปัสสนา กรรมฐาน ตามหลักพุทธ นิกายเซน
  5. ฝึกท่าเดียว

ในปัจจุบันก็ยังคงเน้นท่ารำก่อน แล้วค่อยกลับไปฝึกเก็บรายละเอียดในท่าอีกที และหลักการที่มวยใต้ได้วางเอาไว้นอกเหนือจากท่ารำ

มวยเส้นนี้ (มวยเสือ) สืบมาจาก

  1. หลวงจีนจื่อสาน (ใช้ชื่อในนาม “หง”)
  2. หงซีกวน
  3. ลู่อาไฉ่
  4. หว่องฉีอิง
  5. หว่องเฟยหง
  6. ลั๊มไซเหว่ง
  7. อันฮอย
  8. ฮารอย แย็บ
  9. ชีวิน อัจฉริยะฉาย (ชีวิน ไทฟูโด)
  10. ลูกศิษย์อาจารย์ชีวิน อัจฉริยะฉาย

ติดต่อเพิ่มเติม...

อาจารย์ชีวิน อัจฉริยะฉาย
Chiwin Atchariyachay
卓(陳)遠輝
 
Taifudo Academy – 太夫道
โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ
(รับรองหลักสูตรโดยกระทรวงศึกษาธิการ)
 
สถานที่ : 21 ซอยพีเอสยู ถนนปุณณกัณฑ์ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110
Hatyai Songkhla Southern part of Thailand
地址:Punnakan 路 – PSU 小街, 合艾, 宋卡府 90110
Table of Contents

บทความและข่าวสารอื่นๆ

taifudo book6 Website Taifudo Academy

บทที่ 6 ท่าดีมวยไชยา (Muay Chaiya)

ในการฝึกท่ามวยหรือการจดมวย มวยไชยา ท่าครูหรือท่าย่างสามขุม ฝึกปั้นหมัด พันแขน พันหมัด ย่างสามขุม เสือลากหาง ฝึกป้อง ปัด ปิด เปิด ฯลฯ